หลายคนมองว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 เป็นการซื้อความคุ้มครองที่คุ้มค่า ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ แต่จริง ๆ พฤติกรรมการขับขี่ของบางคนก็อาจยังไม่เหมาะกับประกันประเภทนี้ ถ้าไม่อยากเสียเงินซื้อความคุ้มครองไปอย่างเปล่าประโยชน์ มาเช็กกันหน่อยว่าพฤติกรรมแบบไหนที่ไม่ควรทําประกันชั้น 1 รถยนต์ เพราะบริษัทประกันมีสิทธิปฏิเสธความคุ้มครอง หรือยกเลิกแผนประกันในอนาคตได้ ถ้าพร้อมแล้วตาม มิสเตอร์ คุ้มค่า ไปเช็กลิสต์พฤติกรรมการขับขี่และรายละเอียดอื่น ๆ กันเลย
เหตุผลที่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทําประกันรถยนต์ชั้น 1 มีอะไรบ้าง?
ก่อนไปเจาะลึกพฤติกรรมที่ไม่ควรทําประกันชั้น 1 รถยนต์ เรามาเรื่องที่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันชั้นนี้กันหน่อยดีกว่า เพื่อลดความสับสนและเพิ่มความเข้าใจที่มากขึ้น จะมีอะไรบ้างตามไปดูกัน
1. ทำได้เฉพาะรถใหม่ป้ายแดง
ในความเป็นจริงแล้วต่อให้ไม่ใช่รถใหม่ป้ายแดงก็สามารถทำประกันภัยชั้น 1 ได้ แต่อายุของรถจะต้องไม่เกินเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดเอาไว้ ทั้งนี้ประกันชั้น 1 ไม่ได้เหมาะสมกับผู้ขับขี่ทุกคน เนื่องจากต้องคำนึงถึงพฤติกรรมการขับรถร่วมด้วยนั่นเอง
2. ให้ความคุ้มครองทุกกรณี
อย่างที่ทราบกันดีว่าประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองค่อนข้างครอบคลุม แต่ไม่ด้หมายความว่าจะครอบคลุมทั้งหมด หากคุณมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บริษัทประกันก็จะไม่ให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
3. คุ้มครองยางรถยนต์ และของเหลวในเครื่องยนต์
ยางรถยนต์และของเหลวในเครื่องยนต์ มีระยะเวลาเสื่อมสภาพอยู่แล้ว หากได้รับความเสียหายที่นอกเหนือจากอุบัติเหตุ เช่น ยางระเบิด ยางสึกหรอ ฯลฯ บริษัทประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองใด ๆ แต่ถ้าเกิดจากอุบัติเหตุบริษัทจะรับผิดชอบ ด้วยการชดเชยค่าเสียหายตามข้อกำหนดของ คปภ.
พฤติกรรมการขับขี่แบบไหน ไม่ควรทำประกันชั้น 1?
จากหัวข้อที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า “พฤติกรรมการขับรถ” คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการได้รับความคุ้มครองเมื่อทำประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่พฤติกรรมแบบไหนกันล่ะ? ที่ประกันชั้นนี้มีสิทธิปฏิเสธความคุ้มครอง ตามไปทำความเข้าใจกันเลย
ขับรถเร็วเกินกำหนด
พฤติกรรมการขับรถเร็ว ถือเป็นพฤติกรรมการขับขี่ที่มีสิทธิ์ถูกปฏิเสธความคุ้มครองมากที่สุด หากตรวจสอบและพบว่ามีการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือหากเกิดอุบัติเหตุจากการเร่งความเร็วบนท้องถนน หมายความว่าผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด แม้ว่าจะทำประกันชั้น 1 รถยนต์ก็ตาม
ชอบเมาแล้วขับ
หากคุณเป็นสายแฮงค์เอาท์ เพื่อนเยอะ สังคมแยะ มีเหตุให้ต้องออกไปสังสรรค์อยู่บ่อย ๆ พฤติกรรมการขับขี่แบบ “เมาแล้วขับ” เช่นนี้ ก็มีความเสี่ยงที่บริษัทประกันจะไม่คุ้มครองได้ นอกจากนี้ยังถือเป็นความผิดทางอาญาอีกด้วย
ซึ่งประเทศไทยมีคดีเมาแล้วขับเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่ 4 ของ 10 วันอันตราย ช่วงควบคุมอุบัติเหตุเข้มข้น (ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2567 - 5 มกราคม 2568) พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยข้อมูลคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติว่า “มีคดีเข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ 2,032 คดี เป็นคดีขับรถขณะเมาสุราจำนวน 1,997 คดี และคดีขับเสพจำนวน 35 คดี”
และ “ยอดรวมสะสมรวม 4 วัน (27-30 ธันวาคม 2567) มีคดีเข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติจำนวน 3,795 คดี แบ่งเป็นขับรถขณะเมาสุรา 3,661 คดี (96.47%), ขับเสพ 130 คดี (3.43%), ขับรถประมาท 4 คดี (0.10%)” (ที่มา : กรมคุมประพฤติเผย สถิติ 10 วันอันตราย)
บรรทุกเกินพิกัด
อีกหนึ่งพฤติกรรมที่อาจทำให้ถูกปฏิเสธความคุ้มครองได้ง่าย คือ การนำรถยนต์ไปบรรทุกของหนักเกินที่กำหนดไว้ เนื่องจากการบรรทุกของหนักเกินไป อาจสร้างแรงกดให้กับช่วงล่าง เบรก และยางของรถยนต์ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
และเมื่อประสบอุบัติเหตุในขณะที่บรรทุกของหนักเกินพิกัด บริษัทอาจปฏิเสธการจ่ายเงินสำหรับความสูญเสียหรือการบาดเจ็บ โดยอ้างว่าอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากความประมาทเลินเล่อ และไม่เคารพกฎหมายที่กำหนดไว้
นอกจากพฤติกรรมการขับรถดังกล่าวแล้ว บางบริษัทอาจมี ‘ข้อยกเว้น’ อื่น ๆ ที่ควรทำความเข้าใจให้ดีก่อนทำประกัน เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ และเหมาะสมกับพฤติกรรมการขับขี่ของตัวเอง ถ้าจะให้ดีแนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์ก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง เพื่อให้การเดินทางของคุณราบรื่น และอุ่นใจจนถึงจุดหมายปลายทาง
นอกจากพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ดี ‘โรคห้ามขับรถ’ ก็มีสิทธิ์ถูกปฏิเสธความคุ้มครองได้
หากคุณเป็นคนที่มีโรคประจำตัว แถมโรคดังกล่าวดันเป็น “โรคห้ามขับรถ” ที่กรมการขนส่งกำหนดเอาไว้ แม้ว่าคุณจะขับรถดีแค่ไหน บริษัทประกันก็มีสิทธิ์ไม่รับเคลม เนื่องจากเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งจะมีโรคอะไรบ้างตามไปดูกัน
- โรคเกี่ยวกับสายตา
- โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้)
- โรคพาร์กินสัน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคข้อเข่าเสื่อม หรือข้ออักเสบ
- โรคหัวใจ
- โรคลมชัก
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคทางสมองและระบบประสาท
และถึงแม้คุณจะอ้างว่าทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีทางที่อาการจะกำเริบขณะขับรถ แต่บริษัทประกันมองว่าการทานยาอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม อ่อนเพลีย ที่ไม่พร้อมต่อการขับขี่ ดังนั้นหากฝืนและเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา บริษัทก็จะไม่ให้ความคุ้มครองใด ๆ เลย
พฤติกรรมแบบไหน ที่ควรค่าแก่การทำประกันชั้น 1 บ้าง?
หลังจากทำความเข้าใจพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ควรทำประกันชั้น 1 แล้ว เรามาดูพฤติกรรมที่ควรค่าแก่การทำประกันชั้นนี้กันบ้างดี จะต้องขับรถดีเพียงอย่างเดียวเลยมั้ย หรือมีพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ต้องรู้อีกบ้าง ตามไปดูกันเลย
1. มือใหม่หัดขับรถ
หากคุณเป็นคนที่เพิ่งขับรถมือใหม่ ขับรถไม่แข็ง ไม่ได้ขับรถดีหรือมีประสบการณ์มากมายนัก บอกเลยว่าควรค่าแก่การทำประกันชั้น 1 มาก ๆ เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการเฉี่ยวชนกับรถคันอื่น ๆ หรือเฉี่ยวชนกับสิ่งของ ขับรถชนหมา โดยการทำประกันรถยนต์ชั้น 1 จะเข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
2. เดินทางบ่อย ใช้รถเยอะ
หรือถ้าหากคุณเป็นคนที่ขับรถทางไกลบ่อย ๆ มีเหตุจำเป็นต้องใช้รถเยอะ เน้นเดินทางต่างจังหวัด การทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ถือเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะประกันชั้นนี้ครอบคลุมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรถชนรถ รถชนสิ่งของ รถหาย น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือรถเป็นรอยขูด เคลมประกันก็ได้หมด เรียกได้ว่าคุ้มครองครอบคลุมสุด ๆ เลยล่ะ
3. ต้องการความอุ่นใจตลอดการเดินทาง
และถ้าหากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย รวมถึงกำลังมองหาความอุ่นใจทุกครั้งที่เดินทาง ทำประกันชั้น 1 รถยนต์ก็ยังคงเป็นคำตอบที่ดีอยู่เช่นกัน เพราะคุณไม่ต้องกังวลกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดเลยสักนิด เพราะมีประกันคอยอยู่เคียงข้างเสมอ
ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าหากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุม ตอบโจทย์ คุ้มค่ากับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป การทําประกันชั้น 1 รถยนต์นับเป็นคำตอบที่น่าสนใจ แต่ถ้าหากคุณมีพฤติกรรมการขับรถที่สุ่มเสี่ยง หรือมีโรคประจำตัวที่ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด แนะนำว่าให้เลี่ยงจะดีกว่า เพราะมีสิทธิที่บริษัทประกันจะปฏิเสธความคุ้มครองสูงมาก ๆ นั่นเอง
คำจำกัดความ
แฮงค์เอาท์ | ใช้เวลาว่างกับเพื่อนๆโดยไม่ได้มีเป้าหมายอะไรพิเศษ |
สังสรรค์ | พบปะสนทนากันด้วยความสนิทสนม |
รอยขูด | เป็นรอยที่เกิดขึ้นได้ทั้งจากการโดนขูดด้วยวัสดุที่มีความแข็งและคม อย่างเช่น โลหะ หรืออาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุต่างๆ |