หลายคนที่ซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อนชำระ หลังจากเวลาผ่านไปสักพักอาจเกิดความสงสัยไม่ต่างกัน ว่ารถติดไฟแนนซ์ ต่อประกันเองได้ไหม จำเป็นต้องต่อประกันภัยรถยนต์ผ่านบริษัทไฟแนนซ์เท่านั้นหรือเปล่า บทความนี้ มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาคุณไปเจาะลึกเรื่องการต่อประกันรถยนต์ สำหรับรถที่ติดไฟแนนซ์ พร้อมอธิบายเหตุผลและข้อควรระวังก่อนการตัดสินใจ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความเข้าใจกันเลย
พาหาคำตอบ รถติดไฟแนนซ์ ต่อประกันเองได้ไหม?
หากรู้สึกว่าประกันที่มากับไฟแนนซ์ไม่คุ้มหรือไม่ชอบบริการ เจ้าของรถหรือผู้เอาประกันสามารถต่อประกันภัยรถยนต์เองได้ แม้ว่ารถของคุณจะยังติดไฟแนนซ์อยู่ก็ตาม เพียงนำเอกสารและเล่มประกันไปติดต่อบริษัทประกันรถยนต์ด้วยตัวเอง หรือโทรสอบถามบริษัทประกันโดยตรงก็ได้เช่นกัน สำหรับคนที่กำลังจะต่อประกันรถติดไฟแนนซ์ สามารถแบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้
ต่อประกันกับไฟแนนซ์ (ประกันเดิม)
เบื้องต้นจะมีเจ้าหน้าที่บริษัทไฟแนนซ์โทรสอบถาม ว่าต้องการจะต่อประกันกับทางไฟแนนซ์เลยหรือไม่ หากคุณไม่ต้องการความยุ่งยาก รวมถึงพึงพอใจกับบริการของประกันที่มากับไฟแนนซ์อยู่แล้ว สามารถเลือกต่อกับทางไฟแนนซ์ได้เลย
ต่อประกันเอง (ประกันใหม่)
แต่ในกรณีที่ไม่รู้สึกว่าประกันที่มากับไฟแนนซ์ไม่คุ้มค่าเท่าไหร่ หรือไม่พอใจบริการด้านต่าง ๆ คุณมีสิทธิ์ต่อประกันภัยรถยนต์ที่ถูกใจได้อย่างอิสระ แนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดีก่อนตัดสินใจเปลี่ยน
เรื่องควรรู้ ประกันที่มากับไฟแนนซ์คืออะไร?
เมื่อคุณซื้อรถใหม่ผ่านไฟแนนซ์ ประกันรถยนต์ในปีแรกมักจะถูกจัดรวมไว้กับแพ็กเก็จสินเชื่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งเรียกว่า “ประกันที่มากับไฟแนนซ์” ซึ่งปกติจะเป็นประกันภัยชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมความเสียหายต่อรถและบุคคลที่สาม โดยมีข้อดีและข้อจำกัดดังนี้
ข้อดีของประกันที่มากับไฟแนนซ์
- สะดวก ไม่ต้องเลือกเอง
- ไม่มีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ เนื่องจากรวมอยู่ในค่างวดรายเดือนแล้ว
ข้อจำกัดของประกันที่ติดมากับไฟแนนซ์
- ค่าเบี้ยสูงกว่าต่อประกันภัยรถยนต์พอสมควร
- อาจไม่มีตัวเลือกอู่ที่คุณไว้ใจ
- ไม่สามารถเลือกบริษัทประกัน หรือเงื่อนไขความคุ้มครองได้เอง
ทำไมคนส่วนใหญ่เลือกต่อประกันภัยรถยนต์ด้วยตัวเอง?
มีสิทธิ์เลือกความคุ้มครอง ถือเป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่หลายคนตัดสินใจหันไปต่อประกันภัยรถยนต์เอง นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่น เช่น เลือกอู่ซ่อมรถยนต์ใกล้ฉันได้เอง หรือบางที่ค่าเบี้ยอาจถูกกว่าประกันที่มากับไฟแนนซ์ ถ้าอย่างนั้นตามไปเจาะลึกรายละเอียดกันเลย
1. มีสิทธิ์เลือกความคุ้มครองได้
แต่ละคนมีไลฟ์สไตล์ในการขับขี่ไม่เหมือนกัน บางคนขับรถน้อยเลยอยากลดทุนประกัน หรือบางคนอยากเพิ่มความคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น กระจกแตก, น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งบางแผนที่ไฟแนนซ์จัดอาจไม่ครอบคลุม นอกจากจะเลือกความคุ้มครองได้แล้ว ยังมีอิสระในการเลือกบริษัทประกันที่เชื่อถือได้ มีประสบการณ์การเคลมที่ดี หรือมีรีวิวดี เป็นต้น
2. เลือกอู่ซ่อมได้เอง
หลายคนล้วนอยากใช้บริการกับอู่ซ่อมรถยนต์ที่ไว้ใจได้ หรือศูนย์ซ่อมรถที่มีคุณภาพ ไม่อยากเสี่ยงกับอู่ในเครือที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยใช้บริการมาก่อน การต่อประกันเองจึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์กว่า โดยเฉพาะในด้านของ “ความสบายใจ”
3. ค่าเบี้ยถูกกว่า
ต้องบอกก่อนว่าประกันที่มากับไฟแนนซ์มักจะแพงกว่า เนื่องจากมีการบวกค่าดำเนินการ และไม่มีทางเลือกให้ผู้เอาประกันเปรียบเทียบ การต่อประกันภัยรถยนต์เอง นอกจากจะได้ค่าเบี้ยที่ถูกลงแล้ว ยังมีโอกาสได้รับโปรโมชั่นที่คุ้มค่ากว่าด้วย
4. ต่อผ่านออนไลน์ทั้งง่าย รวดเร็ว และสะดวก
ปัจจุบันสามารถเช็คประกันรถยนต์และซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย แถมยังใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น รวมถึงมีช่องทางแชต ปรึกษา และช่องเอกสารให้ไฟแนนซ์อัตโนมัติ
5. คุมงบประมาณได้เอง
สำหรับคนที่งบประมาณจำกัด การเลือกต่อประกันเองจะทำให้เลือกระดับเบี้ยประกันตามงบที่มีจริงในแต่ละปีได้ ไม่ต้องแบกรับเบี้ยประกันแบบบังคับ ที่อาจสูงเกินความจำเป็นอีกต่อไป
อยากต่อประกันรถยนต์ด้วยตัวเอง ต้องรู้อะไรก่อนตัดสินใจ?
แม้ในปัจจุบันไฟแนนซ์จะไม่บังคับให้ต่อประกันที่มากับไฟแนนซ์ในปีถัดไปแล้ว (บางที่อาจบังคับแค่ปีแรก) แต่ก็มี “ข้อควรระวัง” ที่คุณจำเป็นต้องรู้เอาไว้หน่อย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคต โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบสัญญาเช่าซื้อ
ก่อนตัดสินใจต่อประกันภัยรถยนต์เองในปีถัดไป แนะนำว่าให้ตรวจสอบสัญญาเช่าซื้อให้ดีก่อน เพราะปกติแล้วในสัญญามักระบุว่า “ต้องต่อประกันชั้น 1 เท่านั้น และทุนประกันรถยนต์ต้องครอบคลุมมูลค่ารถ” หรือจะโทรสอบถามเงื่อนไขกับบริษัทไฟแนนซ์ให้เคลียร์ก่อนก็ได้
นอกจากจะให้ความสำคัญในประเด็น “ต่อประกัน” แล้ว ยังควรใส่ใจประเด็นอื่น ๆ ในสัญญาเช่าซื้อด้วยเช่นกัน อ้างอิงจากประกาศของ คปภ. ที่ได้มีการดำเนินเรื่องเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค และแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้บริโภคที่ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ถึง 4 ประเด็นหลัก คือ การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ, การได้รับส่วนลดดอกเบี้ยเมื่อปิดบัญชี, ติ่งหนี้ กรณีนำรถออกขายทอดตลาด และการคิดเบี้ยปรับในการผิดนัดชำระ โดยทั้งหมดนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นมา” (ที่มา: อัปเดต! สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ฉบับใหม่ที่คุณควรรู้)
2. เลือกบริษัทประกันที่เชื่อถือได้
เมื่อตรวจสอบสัญญาเช่าซื้อมาดีแล้ว อันดับต่อมาคือการเลือกต่อประกันกับบริษัทที่เป็นที่ยอมรับ มีประวัติการเคลมที่ดี เพราะถ้าหากเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันใด ๆ ขึ้นมา จนรถยนต์ได้รับความเสียหาย ไฟแนนซ์จะให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีความมั่นคง
3. ส่งเอกสารกรมธรรม์ให้ไฟแนนซ์
หลังต่อประกันภัยรถยนต์เองเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการจัดส่งกรมธรรม์ให้กับบริษัทไฟแนนซ์เพื่อบันทึกข้อมูล และยืนยันว่าความคุ้มครองยังคงอยู่ หากไม่ส่งบางบริษัทมีสิทธิ์ต่อประกันให้คุณเอง (ในเบี้ยที่สูงกว่า) ก็เป็นได้
ขอสรุปสั้น ๆ ทิ้งท้ายก่อนจากกันอีกครั้ง สำหรับรถที่ยังต้องจ่ายค่างวดและเกิดคำถามว่ารถติดไฟแนนซ์ ต่อประกันเองได้ไหม คำตอบคือ “ต่อได้” ตราบใดที่คุณปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้ออย่างถูกต้อง เลือกต่อประกันภัยรถยนต์กับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ และส่งเอกสารยืนยัน (กรมธรรม์) ให้ไฟแนนซ์ตามเวลาที่กำหนด เพราะไม่อย่างนั้นอาจส่งผลต่อความคุ้มครองของรถ และผิดเงื่อนไขสัญญาได้
คำจำกัดความ
สัญญาเช่าซื้อ | สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ให้เช่าซื้อ) ตกลงให้บุคคลอื่น (ผู้เช่าซื้อ) เช่าทรัพย์สินนั้น โดยมีข้อตกลงว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือจะให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามที่ตกลงกันไว้ |
กรรมสิทธิ์ | ความเป็นเจ้าของทรัพย์ |
ทุนประกันรถยนต์ | จำนวนเงินสูงสุดที่บริษัทประกันภัยจะจ่ายให้กับผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายต่อรถยนต์ หรือกรณีที่รถยนต์สูญหาย ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย |