ถ้าไม่จ่ายค่าปรับต่อภาษีรถได้ไหม หากลืมต่อจะโดนโทษเท่าไหร่

แชร์ต่อ
ถ้าไม่จ่ายค่าปรับต่อภาษีรถได้ไหม หากลืมต่อจะโดนโทษเท่าไหร่ | มิสเตอร์ คุ้มค่า 

หลายคนอาจทราบแค่ว่า “จำเป็นต้องจ่ายภาษีรถยนต์ทุกปี” แต่ไม่เคยรู้เลยว่าถ้าไม่จ่ายจะส่งผลอะไรยังไง หรือโดนปรับโดนโทษอะไรหรือเปล่า กับค่าใช้จ่ายที่ต้องลิสต์ไว้สำหรับทุกคนที่มีรถ ต้องจ่ายทุกปีไม่ต่างกับภาษีบุคคลธรรมดา แต่ถ้าหากลืมหรือตั้งใจไม่ต่อ ต้องเจอกับค่าปรับต่อภาษีรถ และโทษอื่น ๆ ตามมา มิสเตอร์ คุ้มค่า จึงได้รวบรวมเรื่องควรรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถมาให้แบบละเอียดยิบ จะมีอะไรบ้างตามไปทำความเข้าใจกันเลย

หากไม่ต่อภาษีประจำปี จะโดนค่าปรับต่อภาษีรถกี่บาท?

ไม่ว่าคุณจะขาดต่อภาษี 1 ปี หรือ 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ยังสามารถทำเรื่องต่อภาษีรถได้ตามปกติ เพียงแต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการต่อภาษีรถที่ล่าช้ากว่ากำหนด และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จะต้องเสียค่าปรับดังนี้

  • รถยนต์ทุกคันจะต้องทำการต่อทะเบียนรถยนต์ก่อนหมดอายุ ซึ่งสามารถทำการต่อภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน (90 วัน) ก่อนหมดอายุ แต่หากต่อภาษีรถล่าช้า จะโดนค่าปรับ 1% ของภาษีรถต่อเดือน
  • หากขาดต่อภาษีนานเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับตามจำนวนปีที่ค้าง
  • หากขาดต่อทะเบียนรถนานเกิน 3 ปี รถยนต์จะถูกระงับป้ายทะเบียน และต้องทำเรื่องส่งคืนป้ายทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกระงับ หากเกินระยะเวลาที่กำหนดจะถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท และจะต้องเปลี่ยนเลขทะเบียนใหม่ทั้งหมด พร้อมเสียค่าปรับตามจำนวนปีที่ค้างจ่ายด้วย

แม้ว่าการขาดต่อภาษีจะไม่มีผลต่อความคุ้มครองของประกันรถยนต์ ทั้งประกันภาคบังคับและประกันภาคสมัครใจ แต่ถ้าหากคุณต้องการความคุ้มครองที่อุ่นใจ ตอบโจทย์ การใช้รถ และคุ้มค่ากับค่าเบี้ยที่จ่าย แนะนำให้เปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดีก่อนเสมอ โดยสามารถเข้ามาเช็กความคุ้มครองและเปรียบเทียบรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไม่จ่ายค่าปรับจราจร ต่อภาษีรถได้ไหม?

หากคุณฝ่าฝืนกฎจราจร ไม่ว่าจะเป็นใบสั่งความเร็วหรือด้วยข้อหาใด ๆ ก็ตาม ล่าสุดมีประกาศออกมาแล้วว่า “ถ้าไม่จ่ายค่าปรับจราจรสามารถต่อภาษีรถได้ แต่จะไม่ได้ป้ายภาษีทันที” ต้องไปดำเนินการเคลียร์ค่าปรับให้เรียบร้อยก่อน ในระหว่างนั้นจะได้ป้ายวงกลมชั่วคราว ที่มีอายุ 30 วันมาใช้ก่อน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 หากไม่จ่ายค่าปรับตามกำหนด อาจถูกยึดป้ายทะเบียนรถ และงดออกป้ายวงกลมมาให้

สำหรับคนที่พบเจอข่าวผ่านหู ผ่านตามาว่า “ไม่จ่ายค่าปรับ ต่อภาษีไม่ได้” Facebook ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่า “เป็นข้อมูลบิดเบือน โดยกรมการขนส่งทางบกร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เมื่อเจ้าของรถมาติดต่อชำระภาษีรถประจำปี ณ สำนักงานขนส่ง หากปรากฏว่ามีข้อมูลค่าปรับใบส่งจราจรค้างชำระ เจ้าของรถสามารถชำรถค่าปรับทั้งหมด พร้อมกับชำระภาษีกับนายทะบียนได้เลย” (ที่มา : ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งจราจร ต่อภาษีรถไม่ได้ ย้ำเป็น "ข้อมูลบิดเบือน")

เพื่อความสะดวกต่อการต่อภาษีรถยนต์ ทุกคนสามารถชำระค่าปรับที่กรมการขนส่งทางบก ต่อภาษีได้เลย เพราะระบบหลังบ้านเชื่อมโยงกันหมด เจ้าของรถก็จะได้ป้ายวงกลมหรือเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีติดกระจกได้ตามปกติ

ในปัจจุบันสามารถชำระค่าปรับจราจรได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้

  • จ่ายกับทางธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือผ่านตู้ ATM ของธนาคารก็ได้
  • จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT จากธนาคารกรุงไทย
  • จ่ายกับทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสใน 7-11 ทุกสาขา
  • จ่ายผ่านที่ทำการไปรษณีย์ไทยทุกสาขาทั่วประเทศ
  • จ่ายผ่านตู้บุญเติม เลือกเมนู “จ่ายบิลสินค้า”
  • จ่ายผ่านแอปพลิเคชันขับดี (KHUB DEE)
*หมายเหตุ: หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเผลอทำผิดกฎจราจร สามารถเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถได้ที่เว็บไซต์ “ใบสั่งจราจรออนไลน์จราจรสำหรับประชาชน” ได้เลย

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้เมื่อขาดต่อภาษีรถ มีอะไรบ้าง?

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้เมื่อขาดต่อภาษีรถ มีอะไรบ้าง? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

เมื่อขาดต่อภาษีรถยนต์นอกจากจะต้องเตรียมจ่ายค่าปรับแล้ว ยังจำเป็นต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม เพื่อเลี่ยงการดำเนินการที่ล่าช้า โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ขาดต่อ 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี และขาดต่อเกิน 3 ปี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ขาดต่อภาษีรถเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี

    • เล่มทะเบียนรถตัวจริง พร้อมสำเนา
    • พ.ร.บ.รถยนต์
    • ใบรับรองการตรวจสภาพรถจากกรมขนส่ง (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป)
  • ขาดต่อภาษีรถเกิน 3 ปี

    • เล่มทะเบียนรถตัวจริง ที่ถูกระงับทะเบียนแล้ว พร้อมสำเนา
    • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของรถ พร้อมสำเนา
    • พ.ร.บ.รถยนต์
    • หลักฐานการซื้อขายรถยนต์ (สำหรับรถที่ไม่ได้จดทะเบียนในชื่อเจ้าของเดิม)

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ได้ไหม?

สำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทางไปดำเนินการต่อภาษีหรือต่อ พ.ร.บ.รถด้วยตัวเอง และไม่มีใครที่สามารถไปทำแทนได้ คงเกิดความสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าในปี 2568 นี้ สามารถต่อ พ.ร.บ. รถ ออนไลน์ได้หรือไม่? คำตอบคือในกรณีที่รถยนต์จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ โดยไม่ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ตรวจสภาพรถยนต์เอกชน (ตรอ.)

แต่ในกรณีที่ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ รถเกิน 7 ปี จะต้องนำรถไปตรวจสภาพให้เรียบร้อยก่อน เมื่อได้รับใบรายงานผลจึงจะสามารถต่อภาษีได้ โดยวิธีการเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์ออนไลน์จะต้องเข้าสู่ระบบบนเว็บไซต์กรมขนส่งทางบกให้เรียบร้อย จากนั้นเลือกเมนูชำระภาษีรถประจำปี และเลือกชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต จากนั้นทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ให้ครบ พร้อมชำระเงินและรอรับเอกสารภาษีได้ตามที่อยู่ที่กรอกไว้ภายใน 3-5 วันทำการ

สรุปสั้น ๆ เลยว่าถ้าหากคุณเผลอลืม หรือตั้งใจไม่ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี จะโดนค่าปรับต่อภาษีรถ 1% ของภาษีประจำปี ในกรณีที่ไม่อยากขาดต่อภาษีรถยนต์ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ ทางที่ดีที่สุดสามารถเช็คภาษีรถยนต์ (ระยะเวลาครบกำหนด) และดำเนินการต่อภาษีรถล่วงหน้าได้เช่นกัน

คำจำกัดความ
คมนาคม การไป และการมา, การติดต่อไปมาถึงกัน, การสื่อสาร
กรมสรรพสามิต หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพื่อเป็น รายได้ให้แก่ภาครัฐ
ป้ายภาษี เอกสารสำคัญที่แสดงว่ารถของคุณได้ชำระภาษีประจำปีเรียบร้อยแล้ว

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่