รวมคำถามที่หลายคนยังสงสัย หากต้องไป ตรวจสภาพรถ ตรอ

แชร์ต่อ
ขั้นตอนการตรวจสภาพรถ ตรอ ก่อนนำเสียภาษี | MrKumka.com

       สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งถอยรถมาหมาด ๆ แล้วได้ยินคำว่า ตรวจสภาพรถ ตรอ คงจะเกิดความสงสัยใช่ไหมล่ะ ? ว่า ตรอ คืออะไร ทำไมถึงมีแต่คนพูดถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ภาษีรถยนต์ใกล้ขาด พรบ ใกล้หมดแต่ละปี ทำไมรถที่ใช้ถึงต้องไปที่ ตรอ. ด้วย ? ผู้ใช้รถหลายคนอาจสงสัยในตรงนี้ MrKumka จึงได้รวมคำตอบที่จะมาช่วยคลายความสงสัยในส่วนต่าง ๆ มาให้คุณแล้ว ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย

 

ทำไมต้อง ตรวจสภาพรถ ตรอ ?

 

ตรอ. ย่อมาจาก “สถาน ตรวจสภาพรถ เอกชน” ที่ผู้ใช้รถสามารถนำรถยนต์ (และรถมอเตอร์ไซค์) เข้าตรวจสภาพรถหรือที่นิยมเรียนกกันว่า “ตรวจ ตรอ.” เพื่อรับใบตรวจสภาพ ก่อนนำเสียภาษีประจำปีต่อไป

 

ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ใช้รถทุกคนกรณีที่ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปที่กรมการขนส่งทางบก สามารถเช็กสภาพรถกับที่นี่เพื่อขอเอกสารการันตีว่ายานพาหนะของคุณปลอดภัย สามารถขับขี่ได้โดยไม่เกิดอันตราย และไม่สร้างมลพิษในอากาศ (ใบตรวจสภาพ) พร้อมทั้งยังมีบริการไปต่อภาษี และ พรบ ให้อีกด้วย

 

ตรวจ ตรอ กี่ปี กับรถที่ใช้งาน พรบ

หากถามว่ารถแบบไหนสามารถตรวจ ตรอ. ได้บ้าง ? ทางกรมการขนส่งทางบกได้แบ่งการ ตรวจสภาพรถ ดังนี้

 

  • รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์ส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป
  • รถบรรทุกส่วนบุคคล มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ อายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไป

 

*หมายเหตุ : อายุรถจะนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก จนถึงวันสิ้นสุดภาษีประจำปี หรือวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี หรือต่อภาษีรถ
 

ตรวจ ตรอ ราคา เท่าไร ?

สำหรับค่าใช้จ่ายของการ ตรวจ ตรอ. จะแบ่งตามประเภทรถ และน้ำหนักของตัวรถ โดยแต่ละประเภทก็มีค่าใช้จ่ายดังนี้

 

  • รถยนต์น้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม ค่าใช้จ่าย 150 บาท/คัน
  • รถยนต์น้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม ค่าใช้จ่าย 150 บาท/คัน
  • รถจักรยานยนต์ ค่าใช้จ่าย 60 บาท/คัน

 

ตรวจ ตรอ เอกสาร ต้องใช้อะไรบ้าง ?

สำหรับค่าใช้จ่ายของการ ตรวจ ตรอ. จะแบ่งตามประเภทรถ และน้ำหนักของตัวรถ โดยแต่ละประเภทก็มีค่าใช้จ่ายดังนี้

 

  • 1. เล่มรถยนต์ หรือ สมุดทะเบียนรถ สำหรับผู้ที่เอารถเข้าไฟแนนซ์อยู่หรือรถที่กำลังผ่อนอยู่ จะไม่มีสมุดทะเบียนรถ ก็สามารถนำสำเนาทะเบียนรถไปใช้ในการตรวจ ตรอ. ได้
  • 2. รถที่จะนำไปตรวจสภาพ
  • 3. ค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจสภาพรถ

 

การตรวจสภาพรถ ตรวจอะไรบ้าง | MrKumka.com

 

ทำไมต้องนำรถไปตรวจเช็คสภาพก่อนเสียภาษี ?

 

ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิต ที่หลายคนเกิดความสงสัยว่า “ทำไมต้องตรวจรถก่อนเสียภาษี” เพราะตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ได้บัญญัติว่า รถที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี โดยนับตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก จนถึงวันสิ้นสุดอายุภาษีประจำปี เช่น รถยนต์ของคุณจดทะเบียนปี พ.ศ.2565 เมื่อครบ 7 ปี จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถ ปี พ.ศ. 2572

 

ทั้งนี้การตรวจสภาพรถก็เพื่อ “ความปลอดภัย” ของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคนที่ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ซึ่งรถที่นำมาใช้บนท้องถนน ไม่ว่าจะรถยนต์ก็ดี รถมอเตอร์ไซค์ก็ดี จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถ “ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง”

 

รถแบบไหน ไม่สามารถตรวจ ตรอ. ได้ ?

 

ต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่นิยมใช้บริการ ตรอ. เพื่อตรวจสภาพรถและฝากต่อภาษี แต่ก็มีรถบางประเภท บางลักษณะที่ต้องนำไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพ ที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น แต่จะมีรถอะไรบ้าง ? ไปดูกัน

 

  • 1. รถที่เปลี่ยนสี

    หรือเปลี่ยนแปลงตัวรถ รวมถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของรถ ให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในคู่มือทะเบียนรถ เช่น รถเคยยกเครื่องแล้วเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ใส่แทน เปลี่ยนลักษณะรถผิดไปจากเดิม เป็นต้น

     

  • 2. รถที่ไม่สามารถตรวจสอบเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ได้

    ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขเลข ขูด ลบ หรือไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้

     

  • 3. รถที่เจ้าของแจ้งไม่ใช่รถชั่วคราว หรือไม่ใช้ตลอดไป
     
  • 4. รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า

    เช่น กท-00001, กทจ-0001 จึงต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ เมื่อนำมาเสียภาษีประจำปี

     

  • 5. รถที่มีปัญหาเคยถูกขโมยแล้วได้คืน
     
  • 6. รถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี
     

 

ตรวจสภาพรถ ตรวจอะไรบ้าง ?

 

การ ตรวจสภาพรถ เบื้องต้น จะต้องมีการตรวจสอบให้ตรงกับข้อมูล ในคู่มือจดทะเบียนรถของคันนั้น ๆ และตรวจสอบตัวรถ ดังนี้

 

  • 1. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เช่น แผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะ หมายเลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์
  • 2. ทดสอบการทำงานและประสิทธิภาพของระบบเบรกทุกชิ้น ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  • 3. ตรวจสภาพของตัวรถ ตัวถัง สี อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ว่าพร้อมใช้งานมากน้อยแค่ไหน เช่น ที่ปัดน้ำฝน พวงมาลัย เป็นต้น
  • 4. ตรวจสอบวัดค่า CO ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ HC ก๊าซไฮโดรคาร์บอน สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • 5. ตรวจสอบการทำงานของระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรกว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่
  • 6. ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางการเบี่ยงเบนของแสง และวัดค่าความเข้มของแสง
  • 7. รถยนต์เครื่องดีเซลต้องตรวจความดัน ระบบการกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45
  • 8. การตรวจวัดเสียงรถ ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
  • 9. รถยนต์ที่ติดแก๊สต้องมีการตรวจ ทดสอบ เช็กตามข้อ ตลอดจนท่อและอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบ ว่าสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะหมดความสงสัยเกี่ยวกับ การ ตรวจ ตรอ. แล้วใช่ไหมล่ะ ? จะเห็นว่าบริการช่องทางนี้เหมาะกับคนที่ไม่สะดวกเดินทางไปจัดการเรื่องทะเบียนรถที่กรมการขนส่งมาก ๆ เพราะ ตรอ. มีอยู่ทุกที่ในประเทศไทย แถมยังมีเยอะมาก ๆ ทำให้การติดต่อดำเนินการเป็นไปอย่างง่ายดายสุด ๆ แต่ที่ง่ายกว่าคือบริการ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ ซึ่งคุณสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ MrKumka.com “ครบ จบ ที่เดียว” เพียงแค่เช็คราคา เปรียบเทียบ และเลือกสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับรถของคุณ

 

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่