เมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุและคุณต้องการแจ้งเคลม ไม่ว่าจะเคลมสดหรือเคลมแห้งทางบริษัทประกันก็จะมีเอกสารมอบให้คุณเสมอ ซึ่งทุกคนเข้าใจตรงกันว่าเป็น “ใบเคลม” แต่วันนี้ มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาไปรู้จัก ใบคุมราคาซ่อมรถ ให้มากกว่าการเป็นแค่เอกสารใบนึง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญที่คนมีรถไม่ควรละเลย เข้าใจว่า ใบประเมินราคาซ่อมรถคืออะไร สำคัญแค่ไหน ตามไปทำความเข้าใจกันเลย
ใบคุมราคาซ่อมรถ คืออะไร ?
สำหรับใบคุมราคาซ่อมรถ เชื่อว่าหลายคนคงไม่คุ้นเคยหรืออาจเคยเห็นผ่านตา แต่เลือกที่จะมองข้ามไปเฉย ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเอกสารนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเอกสารที่ทางอู่ซ่อมหรือศูนย์บริการออกให้กับลูกค้า เพื่อแจ้งรายละเอียดของรายการซ่อมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง, ค่าอะไหล่, ราคาซ่อมรถ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียกได้ว่าเป็นการสรุปค่าใช้จ่ายเบื้องต้นก่อนเริ่มงานซ่อมนั่นเอง
โดยเอกสารอู่ซ่อม ใบเสนอราคาซ่อมรถยนต์ จะมีรายละเอียดชัดเจนเพื่อให้เจ้าของรถรับทราบ และอนุมัติก่อนเริ่มดำเนินการ มีหน้าที่คล้ายกับใบเสนอราคา ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานในการเปรียบเทียบราคา หรือใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเคลมประกันรถยนต์ได้
ข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องมีในใบคุมราคาซ่อมรถ
เพื่อให้คุณไม่พลาดสิ่งสำคัญใด ๆ ไปแบบไม่รู้ตัว หรือถูกเอารัดเอาเปรียบในอนาคต จำเป็นต้องรู้หน่อยว่าข้อมูลอะไรบ้างที่ควรระบุในใบคุมราคาซ่อมรถ ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันเลย
- รายการอะไหล่ที่ต้องเปลี่ยน พร้อมราคาต่อชิ้น
- รายการซ่อมที่ต้องทำ เช่น ซ่อมกันชน, พ่นสี, ซ่อมประตู เป็นต้น
- ค่าบริการหรือค่าแรงทั้งหมด
- รายละเอียดรถยนต์ เช่น สี รุ่น เลขทะเบียน
- วันที่ออกใบประเมินราคาซ่อมรถ และระยะเวลาที่ใบนี้มีผล
- ชื่อ เบอร์โทรของอู่หรือศูนย์บริการ
- ลายเซ็นหรือการรับรองจากผู้ซ่อมหรือเจ้าหน้าที่
ซึ่งถ้าหากใบประเมินราคาซ่อมรถที่คุณได้รับ มีการระบุรายละเอียดตามที่เรายกมาเมื่อข้างต้น ถือเป็นใบคุมราคาที่มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้เป็นหลักฐานได้จริง ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดปัญหาใด ๆ ตามมา โดยเฉพาะในการตอนที่นำไปยื่นเรื่องเคลมประกัน แต่ถ้าหากเอกสารที่ได้รับมีรายละเอียดไม่ครบถ้วน แนะนำให้สอบถามโดยตรงทันที พร้อมกับสอบถามหรือปรึกษาบริษัทประกันอีกครั้ง ว่าถ้าหากไม่มีเอกสารจุดนั้น ๆ จะมีปัญหาหรือไม่
ทำไมใบประเมินราคาค่าซ่อมรถถึงสำคัญ ?
เราพยายามเน้นย้ำมาตลอดว่า “ใบคุมราคาซ่อมรถมีความสำคัญมาก ๆ” ถือเป็นเอกสารที่ไม่ควรมองข้ามหรือละเลย จึงทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า ‘สำคัญ’ ยังไง ทำไมถึงมองข้ามไม่ได้เลย หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังหาคำตอบในเรื่องนี้ ตามไปทำความเข้าใจกันเลย
1. เป็นหลักฐานในการเคลมประกัน
หากคุณมีประกันภัยรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้น 1 หรือชั้นไหน ๆ ก็ตาม บริษัทประกันมักจะขอใบคุมราคาซ่อมรถ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาเคลมค่าเสียหาย โดยเฉพาะกรณีที่คุณเลือกซ่อมอู่ในเครือ หรืออู่นอกเครือ
2. ป้องกันการถูกคิดค่าบริการเกินจริง
ไม่ว่าคุณจะนำรถเข้าซ่อมกับอู่ซ่อมหรือศูนย์บริการ เมื่อมีใบประเมินราคาซ่อมรถอยู่ในมือ ก็สามารถตรวจสอบรายการที่ซ่อมว่าตรงกับความเสียหายของรถหรือไม่ แถมยังสามารถเทียบกับ ‘ราคากลาง’ ของอะไหล่หรือค่าบริการได้ทันที ช่วยให้ไม่ถูกคิดเงินเกินจริง หรือเจอค่าบริการที่ไม่จำเป็น
ทั้งนี้ หากพบเจออู่ซ่อมรถที่คิดราคาแพงเกินจริง นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงประเด็นบริการซ่อมรถยนต์ที่คิดค่าบริการแพงเกินจริงว่า “หากมีการติดค่าบริการเกินที่กำหนด อาจเข้าข่ายความผิดจงใจ มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” โดยสามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 (ที่มา : พาณิชย์วอนอู่ซ่อมรถคิดค่าบริการตามราคากลาง)
3. ใช้เปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ใบประเมินราคาซ่อมรถจะช่วยให้คุณสามารถนำไปเปรียบเทียบกับอู่ หรือศูนย์บริการอื่น ๆ ได้ หากต้องการเช็กราคาซ่อมรถ ราคาอะไหล่ ค่าแรง หรือใด ๆ เพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซ่อมรถกับที่ใดที่หนึ่ง
นอกจากจะเปรียบเทียบราคาซ่อมรถก่อนตัดสินใจใช้บริการกับที่ใดที่หนึ่ง จะมีความสำคัญมาก ๆ แล้ว การเปรียบเทียบประกันรถยนต์ก่อนตัดสินใจซื้อตั้งแต่แรก ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเลย หากคุณต้องการความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ ทุนประกันครอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายตามใบคุมราคาซ่อมรถที่ทางศูนย์หรืออู่เสนอมา แต่ค่าเบี้ยยังคงสบายกระเป๋า สามารถเข้ามาเช็คราคาและแผนความคุ้มครองได้ที่เว็บไซต์ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การประเมินราคาซ่อมรถพิจารณาจากความเสียหายอะไรบ้าง ?
อีกหนึ่งประเด็นที่คนมีรถจำเป็นต้องรู้ คือ “ความเสียหาย” ที่ต้องนำมาพิจารณาในการประเมินราคาซ่อมรถมีอะไรบ้าง โดยหลัก ๆ มีทั้งหมด 4 ส่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- การซ่อมความเสียหายหลักและความเสียหายรอง โดยจะเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหาย และต้องได้รับการซ่อมแซม
- การซ่อมส่วนที่เสียหายร่วม อาจมีส่วนที่กระทบกระเทือนไปยังระบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยรถ, หม้อน้ำ, ระบบเกียร์ หรือใด ๆ ก็ตามที่คาดว่าอาจจะได้รับผลกระทบ
- การซ่อมส่วนที่เสียหายต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องถอดชิ้นส่วนออกมาตรวจสอบก่อน
- การเปลี่ยนเป็นบางส่วน จำเป็นต้องมีขั้นตอนเพิ่มเติม หรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการซ่อมแซม
ใบประเมินราคาซ่อมรถ vs ใบซ่อมรถ ต่างกันยังไง ?
อีกหนึ่งประเด็นที่เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสับสนระคนสงสัยอยู่ไม่น้อย คือ ใบแจ้งซ่อมรถ (ใบเคลม) vs ใบคุมราคาซ่อมรถเหมือนหรือต่างกันยังไง ใช่เอกสารแบบเดียวกันไหม? ตอบตรงนี้เลยว่า “ต่างกันอย่างสิ้นเชิง” ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ใบคุมราคาซ่อมรถ
- เป็นเอกสารที่ศูนย์ซ่อมรถหรืออู่ซ่อม ใบเสนอราคาซ่อมรถยนต์เป็นฝ่ายออกให้ลูกค้า ซึ่งจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับราคาซ่อมรถที่ต้องจ่าย เช่น ค่าแรง, ค่าชิ้นส่วน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมรถ
- ใบประเมินราคาซ่อมรถมักใช้สำหรับคำนวณราคาซ่อม เมื่อมีการซ่อมแซมรถยนต์จากความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ใบเคลมประกัน
- ใบเคลมหรือใบส่งมอบรถ ซ่อม เป็นเอกสารที่ใช้ในการเคลมประกัน หรือขอรับการชดเชยจากบริษัทประกันภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้รถยนต์เสียหาย หรือเกิดอุบัติเหตุ
- ใบส่งซ่อมรถยนต์ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการซ่อมแซมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริษัทประกันพิจารณาและอนุมัติการจ่ายเงินเคลม
สรุปง่าย ๆ ได้ว่าใบคุมราคาซ่อมรถ จะเกี่ยวข้องกับการประเมินราคาซ่อมจากอู่ซ่อมรถยนต์ใกล้ฉัน ส่วนใบเคลมจะเกี่ยวกับการขอรับการชดเชยจากบริษัทประกันภัย ซึ่งมีกระบวนการที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการซ่อมรถก็ตาม
ต้องบอกก่อนว่าเอกสารสำคัญที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า พูดถึงข้างต้น ไม่ใช่สัญญาทางกฎหมายโดยตรง แต่อย่างน้อยใบคุมราคาซ่อมรถก็ยังเป็น “เอกสารอ้างอิงที่สำคัญ” หากมีปัญหาเกี่ยวกับการซ่อม เช่น ราคาไม่ตรงตามตกลง การซ่อมที่ไม่ได้คุณภาพ การเรียกเก็บเงินเพิ่มโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ฯลฯ คุณสามารถใช้ใบประเมินราคาซ่อมรถเป็นหลักฐานในการร้องเรียนหรือฟ้องร้องได้
คำจำกัดความ
ค่าแรง | ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง |
ใบเสนอราคา | เอกสารที่เจ้าของธุรกิจจะต้องออกให้กับฝ่ายลูกค้า (ผู้ซื้อ) เพื่อให้ลูกค้าพิจารณาราคาสินค้าหรือบริการ รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ |
ประเมินราคา | การคำนวณหาปริมาณวัสดุ ค่า แรงและค่าดำเนินการที่ราคาใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด |