การขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนน ไม่ใช่แค่เรื่องความเร็วหรือทักษะการควบคุมรถเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับมารยาทการขับขี่ และการสื่อสารกับผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ อย่างการให้สัญญาณไฟเลี้ยวด้วย มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาคุณไปทำความเข้าใจวิธีการให้สัญญาณไฟที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการให้สัญญาณไฟที่ถูกต้องเมื่อขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยก, เปลี่ยนเลนหรือเปลี่ยนช่องทางจราจร เพื่อความปลอดภัยและยับยั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตามมา
ทำไมการให้สัญญาณไฟเลี้ยวถึงสำคัญ?
เพราะการให้สัญญาณไฟเลี้ยวเป็นมากกว่าการเปิดไฟ พูดง่าย ๆ คือ การให้สัญญาณไฟคือหนึ่งในวิธีสำคัญในการสื่อสารกับผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ด้วยกันเอง รถจักรยานยนต์ หรือแม้แต่รถบรรทุกที่สัญจรไปมาบนถนน ก็ล้วนต้องพึ่งพา “สัญญาณไฟรถ” เพื่อรับรู้ถึงเจตนาของอีกฝ่ายด้วยกันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่ตัวคุณเอง
ทั้งนี้ ผู้ขับขี่ทุกคนควรเปิดไฟเลี้ยวก่อนเปลี่ยนเลน หรือก่อนทำการเลี้ยวเสมอ เพื่อให้รถคันอื่นมีเวลาเตรียมตัวและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น แต่ไฟเลี้ยวต้องเปิดก่อนกี่เมตร และการให้สัญญาณไฟที่ถูกต้องเมื่อขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยกที่ถูกต้องควรทำยังไง ตามไปทำความเข้าใจกันต่อด้านล่าง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการให้สัญญาณไฟที่ถูกต้องเมื่อเข้าสู่ทางร่วมทางแยก
เมื่อคุณขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยก ไม่ว่าจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือตรงไป อย่าละเลยการให้สัญญาณไฟเลี้ยวโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเป็นการแสดงมารยาทการขับขี่ที่ดีแล้ว ยังช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย ซึ่งข้อควรจำในการให้สัญญาณไฟที่ถูกต้องเมื่อขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยก มีดังนี้
- ตรวจสอบกระจกมองหลังและกระจกข้าง
- เปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้า 30 เมตร
- ชะลอความเร็ว
- มองซ้ายขวาให้ดีก่อนเลี้ยว
- ให้รถคันที่ใหญ่กว่าหรือที่อยู่ในทางเอกไปก่อน
ขอย้ำอีกครั้งว่าการให้สัญญาณไฟที่ถูกต้องเมื่อขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยก ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าคุณเป็นกังวลและต้องการความอุ่นใจที่มากกว่า เนื่องจากมองว่า “อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ แม้จะให้สัญญาณไฟรถถูกต้อง หรือระวังแค่ไหนก็ตาม” แนะนำให้ซื้อความคุ้มครองที่ครอบคลุม ด้วยการเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนตัดสินใจ ที่นี่มีแผนประกันให้เลือกหลากหลาย แถมราคาสบายกระเป๋าอีกด้วย
รู้หน่อย ไฟเลี้ยวต้องเปิดก่อนกี่เมตร?
อย่างน้อย 30 เมตร ไม่ว่าจะเลี้ยวหรือเปลี่ยนเลนรถยนต์ก็ตาม เพื่อเป็น “การให้สัญญาณไฟล่วงหน้า” ซึ่งมีระยะเวลาให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถปรับเส้นทางการขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ถือเป็นวิธีที่ผู้ขับขี่ทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุบนถนน หากละเลยอาจต้องเผชิญกับบทลงโทษทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538) มาตรา 36 วรรค 1, 148 จะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
ไฟเลี้ยวแบบไหน ผิดกฎหมายจราจร?
นอกจากจะให้ความใส่ใจในประเด็นการให้สัญญาณไฟเลี้ยวที่ถูกต้องแล้ว ยังมีข้อควรระวังของการเลือกใช้ไฟเลี้ยวด้วย ไม่แน่ว่าไฟเลี้ยวที่คุณใช้อยู่อาจขัดต่อกฎหมายจราจรได้ ถ้าไม่แน่ใจตามไปหาคำตอบก่อนเปิดใช้สัญญาณไฟรถกันหน่อยดีกว่า
- สีไฟเลี้ยวไม่ถูกต้อง: ตามกฎหมายไฟเลี้ยวของรถทุกคันจะต้องเป็น “สีเหลือง” นอกจากนี้ยังต้องมีจังหวะกะพริบตามมาตรฐานด้วย หากเป็นสีอื่นหรือจังหวะกะพริบแปลกไปจะถือว่าผิดกฎหมาย
- ไฟเลี้ยวไม่สามารถใช้งานได้/เสีย: กรณีที่ไฟเลี้ยวไม่ทำงาน ทำการให้สัญญาณไฟเลี้ยวไม่ได้ตามปกติ เสีย หรือใด ๆ ก็ตาม แสดงว่ารถของคุณอาจมีปัญหาทางเทคนิค และการขับขี่รถโดยไม่มีไฟเลี้ยวที่ทำงานถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
- การใช้ไฟฮาซาร์ด (Hazard Lights) ระหว่างขับขี่: เพราะอาจสร้างความสับสน และอาจทำให้ผู้ขับขี่คนอื่นเข้าใจผิดเกี่ยวกับเจตนาของคุณ
การเปลี่ยนช่องทางจราจร ควรปฏิบัติอย่างไร?
ไฟเลี้ยวมีบทบาทสำคัญและจำเป็นต้องใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องทางจราจรด้วยเช่นกัน แต่ก่อนอื่นมาดูสักหน่อยดีกว่าว่าการเปลี่ยนช่องทางจราจร ควรปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และไม่ผิดกฎหมาย
- ตรวจสอบเลนรถยนต์ที่ต้องการเปลี่ยนว่ามีรถหรือไม่
- เปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าอย่างน้อย 3-5 วินาที
- ตรวจสอบจุดบอดด้วยการเหลียวมอง
- บังคับพวงมาลัยรถเพื่อเปลี่ยนเลนอย่างนุ่มนวล
และหลายคนมักเปิดไฟฉุกเฉินในช่วงจังหวัดของการเปลี่ยนช่องจราจรแทนไฟเลี้ยว ซึ่งบอกเลยว่าเป็นการใช้งานที่ผิดจุดประสงค์มาก ๆ เพราะตามปกติแล้วการเปิดไฟฉุกเฉินที่ถูกต้อง ควรเปิดเมื่อรถเสีย หรือมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องจอดกลางถนน, รถยนต์ต้องหยุดกะทันหันในจุดอันตราย (เช่น รถดับกลางทาง, รถยางแตก เป็นต้น) หรือเมื่ออยู่ในสภาพการจราจรที่มีอุบัติเหตุด้านหน้า หากเปิดขณะขับรถอาจทำให้ผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ เกิดความสับสนได้
จะเห็นได้ว่า “ไฟเลี้ยว” เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญ ที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ดี แถมการให้สัญญาณไฟเลี้ยวที่ถูกต้อง ยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ของผู้ขับขี่ที่มีความรับผิดชอบ และเคารพผู้ร่วมทางได้อีกด้วย แนะนำว่าควรใช้สัญญาณไฟรถโดยเฉพาะไฟเลี้ยวอย่างน้อย 30 เมตร และไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินขณะขับรถ หรือไม่มีเหตุจำเป็นเด็ดขาด
คำจำกัดความ
สัญจร | ผ่านไปมา |
ไฟฮาซาร์ด (Hazard Lights) | เรียกกันติดปากว่า "ไฟผ่าหมาก" คือไฟที่กะพริบพร้อมกันทั้งไฟหน้าและไฟท้ายของรถยนต์ ใช้สำหรับแจ้งเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ว่ารถคันที่เปิดไฟฉุกเฉินกำลังอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือมีเหตุอันตรายเกิดขึ้น |
จุดบอด | บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็นได้ |