เกิดอุบัติเหตุแต่พ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือน ประกันช่วยได้ไหม

แชร์ต่อ
เกิดอุบัติเหตุแต่พ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือน ประกันช่วยได้ไหม  | มิสเตอร์ คุ้มค่า

กว่าจะรู้ตัวว่า พ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือนก็ดันเกิดอุบัติเหตุขึ้นซะแล้ว แน่นอนว่าจะไม่สามารถเคลม พ.ร.บ. ได้ เนื่องจากความคุ้มครองขาดไปแล้ว ทว่ายังมีประกันภาคสมัครใจอยู่ แบบนี้สามารถเคลมประกันได้ไหม หากคุณกำลังหาคำตอบในเรื่องนี้ มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมประเด็นค่าปรับ พ.ร.บ. ขาด และการเคลมประกันรถยนต์มาให้แล้ว ตามไปทำความเข้าใจกันเลย

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร สำคัญยังไง ?

มาทำความเข้าใจกันก่อน พ.ร.บ.รถยนต์ มีชื่อเต็ม ๆ ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันดีว่า “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” เปรียบเหมือนเกราะป้องกันให้กับคนที่ใช้รถ เพราะถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา จะได้รับความช่วยเหลือในด้านค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลให้กับตัวคุณเองและคู่กรณี รวมถึงชดเชยในกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอีกด้วย

ซึ่งความสำคัญของเอกสารแผ่นนี้ คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายผิดก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องควักจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดด้วยตัวเอง เพราะ พ.ร.บ.รถยนต์ จะเข้ามามีบทบาทและช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้เอง

เรื่องสำคัญที่ควรรู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ มีอะไรบ้าง ?

เรื่องสำคัญที่ควรรู้ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ มีอะไรบ้าง | มิสเตอร์ คุ้มค่า

หลังจากทำความรู้จัก พ.ร.บ.รถยนต์ กระดาษสี่เหลี่ยม ขนาด A4 (ไม่ใช่ป้ายสี่เหลี่ยมติดหน้ารถอย่างที่หลายคนเข้าใจ) เรามาดูเรื่องสำคัญที่ควรรู้เพิ่มเติมกันหน่อยดีกว่า เพื่อป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และเสียสิทธิประโยชน์ไปอย่างไม่รู้ตัว

  • 1. พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องต่ออายุทุกปี

    สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องจำให้ขึ้นใจ คือ พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องต่ออายุทุกปี ห้ามขาด! เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งในเอกสารจะระบุ “ระยะเวลาเอาประกันภัย” เอาไว้อย่างชัดเจน

    ทั้งนี้หากปล่อยให้พ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือน ขาดน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • หากไม่ได้จ่ายภาษีรถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับเดือนละ 1% พร้อมกับชำระภาษีย้อนหลังด้วย
    • กรณีขาดต่อภาษีรถยนต์นานเกิน 3 ปี มีสิทธิ์ถูกระงับป้ายทะเบียน และรถของคุณจะกลายเป็น “รถเถื่อน” ทันที แถมยังมีโอกาสถูกจับปรับดำเนินคดีตามกฎหมาย
  • 2. ปล่อยให้พ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือน มีสิทธิ์โดนค่าปรับ

    นอกจากจะต้องจ่ายค่าปรับเนื่องจากขาดต่อภาษีรถยนต์แล้ว การปล่อยให้พ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือน เมื่อถูกตรวจจะถูกลงโทษตามกฎหมาย เสียค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท

  • 3. ให้ความคุ้มครองกรณีรถชนรถ

    หากเกิดอุบัติเหตุแบบรถชนรถ พ.ร.บ.รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองทันที โดยให้สอบถามแจ้งสิทธิกับโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาตัว พร้อมกับแจ้งเหตุที่เกิดขึ้น จากนั้นเตรียมเอกสารการเบิก พ.ร.บ. รถ และบัตรประชาชนของคนเจ็บยื่นประกอบ

  • 4. สามารถเคลม พ.ร.บ. ได้ทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

    การใช้สิทธิการเบิก พ.ร.บ. รถเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น สามารถเบิกได้ที่โรงพยาบาล โดยเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาททุกกรณี (จ่ายค่ารักษาตามจริง) แต่ต้องเตรียมเอกสารให้ครบก่อนเคลม

    กรณีเกิดอุบัติเหตุและสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนหน้านี้แล้ว สามารถ เคลม พ.ร.บ. ย้อนหลังได้ภายใน 180 วัน (หาก พ.ร.บ.ขาด จะไม่สามารถเคลมย้อนหลังได้) โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ดังนี้

    • เอกสารค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล หรือใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (อย่าลืมใบรับรองแพทย์)
    • เอกสารหน้าตาราง พ.ร.บ.รถยนต์ สำหรับใช้ยื่นเคลม พ.ร.บ. ย้อนหลัง

    เอกสารอื่น ๆ ในกรณีที่บริษัทร้องขอเพิ่มเติม เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาใบขับขี่ บันทึกประจำวันจากตำรวจ สำเนาทะเบียนรถ (ถ้ามี)

  • 5. สะดวกมากกว่า ถ้าทำ พ.ร.บ. บริษัทเดียวกับประกันภัยรถ

    เพื่อความสะดวกสบายที่มากขึ้น แนะนำให้ทำ พ.ร.บ.บริษัทเดียวกับประกันภัยรถยนต์ (ภาคสมัครใจ) เพื่อให้ง่ายต่อการเคลมหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะได้ไม่ต้องยุ่งยากแจ้งเคลมหลายรอบ ยื่นเอกสารเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอแล้ว

หากใช้รถที่ไม่มีประกันภาคบังคับ จะเป็นยังไง ?

อีกหนึ่งประเด็นที่เจ้าของรถปล่อยผ่านไม่ได้เลยก็คือ หากใช้รถที่พ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือนหรือมากกว่า ผู้ขับขี่ เจ้าของรถจะต้องแบกรับความเสี่ยงอะไรบ้าง ซึ่ง มิสเตอร์ คุ้มค่าได้รวบรวมมาให้ด้วยเช่นกัน ตามไปดูกันต่อด้านล่าง

  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่ว่าจะชนเสาไฟฟ้า ขับรถตกข้างทาง ขับรถชนแบบไม่มีคู่กรณี ฯลฯ จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จาก พ.ร.บ.รถยนต์
  • กรณีที่ “ขับรถชนไม่มีเงินจ่าย” แถมยังไม่มี พ.ร.บ.รถ คู่กรณีต้องไปร้องเรียนกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย แล้วกองทุนจะมาไล่เบี้ยค่าเสียหายคืนจากคุณ เพื่อไปจ่ายแก่ผู้ประสบภัย (คู่กรณี) พร้อมด้วยค่าปรับอีก 10,000 บาท
  • และถ้าหากพ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือน โดนชนจนได้รับบาดเจ็บ หรือรถยนต์ได้รับความเสียหาย จะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ แต่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีได้ โดยจะต้องรอให้ผลการพิจารณาคดีออกมาก่อน ว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดจริง แน่นอนว่าระหว่างนั้นคุณจำเป็นต้องสำรองจ่ายเงินค่าซ่อมรถ หรือค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเองไปก่อน

เกิดเหตุรถชน แต่ไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ เคลมประกันได้ไหม ?

มาถึงคำถามสุดท้ายที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจไม่แพ้ประเด็นอื่น ๆ คือ หากเกิดอุบัติเหตุโดยที่ไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ ยังจะได้รับความคุ้มครองจากประกันภาคสมัครใจหรือไม่? ในความเป็นจริงคำตอบไม่ได้อยู่ที่คุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง แต่ขึ้นอยู่กับ “ประเภทประกันที่ทำไว้” ถ้าอย่างนั้นตามไปเปรียบเทียบประกันรถยนต์กันหน่อยดีกว่า

  • 1. ทำประกันรถยนต์ชั้น 1

    ในกรณีที่ พ.ร.บ.รถยนต์ขาด ทำให้ไม่สามารถเคลม พ.ร.บ.ได้ แต่คุณทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ ก็ยังคงได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ตามเดิม ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถคุณ รถคู่กรณี แถมยังครอบคลุมถึงค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย ทว่าบริษัทประกันจะไม่ช่วยจ่ายค่าปรับกรณี พ.ร.บรถขาด คุณเองต้องเตรียมส่วนนี้ให้พร้อม

    นอกจากนี้ประกันรถยนต์ชั้น 1 ยังครอบคลุมถึงบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเกิดเหตุรถชน รถเสีย รถน้ำมันหมดกลางทาง ฯลฯ ก็สามารถโทรแจ้งเพื่อให้บริษัทประกันมาเติมน้ำมันให้ หรือลากรถไปยังอู่ซ่อมรถยนต์ใกล้ฉันก็ได้หมด เรียกได้ว่าช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการเดินทางได้ดีมาก ๆ

  • 2. ทำประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือชั้น 3+

    กรณีที่คุณไม่ได้ทำประกันชั้น 1 เพราะด้วยปัจจัยเรื่องราคา ความคุ้มครองที่เกินกว่าจำเป็น หรือใด ๆ ก็ตาม และได้ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือชั้น 3+ เอาไว้ ก็ยังคงได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากเป็นการชนที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนกำแพง ประกันจะไม่ช่วยซ่อมรถของคุณ

  • 3. ทำประกันรถยนต์ชั้น 2 หรือชั้น 3

    หากรถของคุณเป็นรถเก่า รถมือสอง หรือสะดวกใจจะทำแค่ประกันรถยนต์ชั้น 2 หรือชั้น 3 เมื่อเกิดอุบัติเหตุประกันจะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของคู่กรณีเท่านั้น หากรถของคุณเสียหาย หรือมีค่ารักษาพยาบาล คุณต้องเป็นคนรับผิดชอบเอง

หากประกันรถยนต์หาย ยังแจ้งเคลมได้อยู่ไหม ?

หากประกันรถหาย จึงเกิดความสงสัยอยู่ไม่น้อยว่ายังสามารถเคลมประกันได้อยู่หรือไม่? คำตอบคือ “เคลมได้ ไม่มีปัญหา” โดยความคุ้มครองจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นความคุ้มครอง ไปจนถึงวันหมดอายุ ไม่ว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้น สามารถติดต่อบริษัทประกันและแจ้งหมายเลขทะเบียนรถ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริษัทตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์และความคุ้มครองที่มีอยู่ได้

จากนั้นค่อยไปดำเนินการขอใบกรมธรรม์ประกันรถยนต์ใหม่ ด้วยการติดต่อบริษัทประกันได้โดยตรง พร้อมกับแจ้งข้อมูลสำคัญที่ทางบริษัทเรียกถาม เพียงเท่านี้บริษัทประกันก็ออกสำเนาใบกรมธรรม์ใหม่ให้ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมเล็กน้อย (แตกต่างกันไปตามนโยบายของบริษัท) ส่วนระยะเวลาในการได้รับใบใหม่ จะอยู่ที่ประมาณ 1-7 วัน

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงพอจะมองภาพออกแล้วใช่มั้ยว่า การปล่อยให้พ.ร.บ. รถยนต์ ขาด 1 เดือน ไม่มีผลต่อความคุ้มครองของประกันภาคสมัครใจเลย แม้จะเคลม พ.ร.บ. ไม่ได้ แต่ยังสามารถเคลมประกันได้ตามเดิม แต่อาจต้องเตรียมใจในเรื่องค่าปรับ พ.ร.บ. ขาดเอาไว้สักหน่อย เพราะคุณทำผิดกฎหมายก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยตัวเอง

คำจำกัดความ
ไล่เบี้ย ไล่เลียงไปจนกว่าจะได้คนทำผิด, เรียกร้องให้รับผิดในการชำระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลำดับ
ป้ายสี่เหลี่ยมติดหน้ารถ ป้ายแสดงหลักฐานการต่อภาษีประจำปีกับขนส่งทางบก
สำเนากรมธรรม์ประกันภัย เอกสารที่แสดงรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยฉบับจริง ซึ่งมีข้อมูลเหมือนกับกรมธรรม์ฉบับเดิมทุกประการ

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่