ไม่ว่าคุณจะขับรถประเภทไหนในประเทศไทย จำเป็นที่จะต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งจัดเป็นประกันภาคบังคับตามกฎหมาย ผู้ขับขี่ยานยนต์ทุกคนจึงต้องซื้อประกันนี้ทุกปีเพื่อให้ความคุ้มครองขั้นพื้นฐานแก่รถและผู้คนขับขี่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับมีจำนวนเงินทุนประกันภัยที่จำกัด ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จึงซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติม
รถเก๋ง,
รถกระบะ 4 ประตู
฿645/ปี
รถกระบะ 2 ประตู
( ไม่เกิน 3 ตัน )฿967/ปี
รถตู้
(จดทะเบียนมากกว่า 7 ที่นั่ง)฿1,182/ปี
รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคัน ต้องทำประกันภัยภาคบังคับที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่ จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ต้องทำประกันภัย ภาคบังคับตาม พ.ร.บ. นี้ เพื่อให้ความคุ้มครองขั้นพื้นฐานแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุทางถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้า
กฎหมายกำหนดรูปแบบการประกันภัยนี้ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
●
เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตเพราะเหตุประสบภัยจากรถโดยให้ได้รับการรักษา พยาบาลอย่างทันท่วงทีในกรณีที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
●
เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับ ค่ารักษาพยาบาล ในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
●
เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
●
ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมใน การบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จะให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวผู้ขับขี่เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงรถยนต์ ซึ่งวงเงิน คุ้มครองนั้นจะมีกำหนดไว้แล้วตามกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจาก ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ให้ความคุ้มครอง ครอบคลุม และมีทุนประกันที่สูงกว่า โดยมีรายละเอียดความคุ้มครองดังนี้
●
ค่ารักษาพยาบาลตามจริงกรณีบาดเจ็บ
●
ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ*
●
ค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร
●
ค่าชดเชยรายวันกรณีนอนโรงพยาบาล
พ.ร.บ. รถยนต์นั้นจัดเป็นประกันภาคบังคับตามกฎหมาย ซึ่งยานพาหนะทางบกทุกคันจำเป็นที่จะต้องมี ถ้าคุณไม่ต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่สามารถต่อภาษีทะเบียนรถยนต์ได้ และถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
หากคุณประสบปัญหาในการใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของเรา โปรดติดต่อเราที่ MrKumka.com เรายินดีที่จะให้คำปรึกษา รวมถึงรายละเอียด เพื่อที่คุณจะได้ซื้อ พ.ร.บ. ได้ทันเวลา ก่อนต่อภาษีทะเบียนรถยนต์
เพียงแค่เช็คราคา เปรียบเทียบ และเลือกสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด
เปรียบเทียบราคา ประกันรถชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 2, ชั้น 3+ และชั้น 3 จาก บริษัทประกันภัยรถยนต์ชั้นนำทั่วประเทศ
ดูเพิ่มเติม