โดนรถชนแต่ประกันไม่จ่าย รู้ทันคดีประกันภัยก่อนเสียสิทธิ์

แชร์บทความนี้
โดนรถชนแต่ประกันไม่จ่าย รู้ทันคดีประกันภัยก่อนเสียสิทธิ์ | มิสเตอร์ คุ้มค่า 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ทุกเวลา เมื่อหลายคนมักไม่เป็นกังวลเพราะซื้อประกันไว้แล้ว ไม่มีอะไรต้องห่วง แต่ในความเป็นจริง “คดีประกันภัย” เป็นข้อพิพาทที่พบได้บ่อยในศาลไทย ทั้งฝ่ายผู้เอาประกันภัยและผู้เสียหาย ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากบริษัทประกัน มิสเตอร์ คุ้มค่า ยินดีพาคุณไปทำความรู้จักเกี่ยวกับคดีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คุณเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามกระบวนทางกฎหมาย

คดีประกันภัย คืออะไร?

คือ ข้อพิพาทระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย เช่น บริษัทประกันภัย ผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกัน ซึ่งคดีความอาจเกิดขึ้นได้จาก “ความไม่พอใจ” ในผลประเมินความเสียหาย การปฏิเสธความรับผิดชอบของบริษัทประกัน หรือความล่าช้าในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น

ตัวอย่างคดีประกันภัย

ตัวอย่างที่ 1: บริษัทประกันภัยปฏิเสธการจ่าย โดยอ้างว่า “ไม่มีความผิด”

เช่น รถผู้เอาประกันเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ แต่บริษัทประกันกลับอ้างว่าผู้เอาประกันไม่ผิด จึงไม่จ่ายเงินให้ผู้เสียหาย ในกรณีนี้ผู้เสียหายสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแพ่ง เพื่อฟ้องบริษัทประกันภัยพร้อมแนบหลักฐานว่าเกิดเหตุขึ้นจริง และตนได้รับความเสียหาย

ตัวอย่างที่ 2: ผู้เอาประกันภัยฟ้องบริษัทประกัน เพราะจ่ายเงินล่าช้า

กรณีที่ผู้เอาประกันภัยส่งรถเข้าซ่อม แต่บริษัทประกันอนุมัติล่าช้า จนต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม กรณีนี้สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญา หรือการละเลยหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัยได้

ตัวอย่างที่ 3: บริษัทตีความเงื่อนไขกรมธรรม์ไม่ตรงกัน

บริษัทไม่จ่ายค่าซ่อมเพราะอ้างว่าไม่ครอบคลุมอุบัติเหตุในลักษณะที่เกิดขึ้น เช่น ขับรถลุยน้ำแล้วเครื่องพัง กรณีนี้ศาลจะพิจารณาตามเจตนาของสัญญา ถ้าข้อกำหนดที่ระบุไว้ไม่ชัดเจน มักตีความเป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกัน

ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีเจตนาฉ้อฉลประกันภัย แบบนี้ก็ถือเป็นคดีประกันภัยด้วยเช่นกัน เฉกเช่นข่าวเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ที่ผู้เอาประกันฆ่าเหยื่อหวังเงินประกัน 14 ล้านบาท มีการวางแผนซื้อประกันภัยรถกระบะ 3 คัน รวม 21 กรมธรรม์ และลวงหนุ่มขี้ยามาฆ่า โดยจัดฉากว่าเป็นอุบัติเหตุ หลังจากบริษัทประกันพบพิรุธได้ส่งเรื่องไปที่ คปภ. เพื่อดำเนินการตรวจสอบ แล้วทำเรื่องร้องเรียนถึงตำรวจให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง” (ที่มา: จ่อจับ "พ.ต.ท." จัดฉากฆ่าโหด คดีอุบัติเหตุรถ หวังฮุบ "14 ล้าน" เงินประกันภัย!)

แน่นอนว่าแต่ละบริษัท และประกันแต่ละแผนมีเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์แตกต่างกันออกไป เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะกรณีข้อพิพาทประกันรถชน นอกจากจะเปรียบเทียบประกันรถยนต์ในด้านความคุ้มครองที่ครอบคลุมแล้ว ยังควรทำความเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน หากไม่มั่นใจให้ถามบริษัทโดยตรงเพื่อความชัดเจน

ประกันรถชน คืออะไร?

คือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1, 2+ หรือ 3+ ประกันรถชนเป็นสัญญาระหว่างเจ้าของรถกับบริษัทประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองกรณีรถชน รถได้รับความเสียหาย หรือเกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยแบ่งประเภทความคุ้มครองดังนี้

  • คุ้มครองรถของผู้เอาประกันภัย กรณีเกิดอุบัติเหตุ, รถหาย, ไฟไหม้ ฯลฯ
  • คุ้มครองทรัพย์สิน ชีวิตของผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ
  • คุ้มครองตามกฎหมาย พ.ร.บ.สำหรับอาการบาดเจ็บและเสียชีวิต
การดำเนินคดีประกันภัย ต้องเตรียมอะไรบ้าง? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

การดำเนินคดีประกันภัย ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ไม่ว่าคดีประกันภัยที่เกิดขึ้น จะสืบเนื่องมาจากบริษัทประกันจ่ายล่าช้า ปฏิเสธความคุ้มครอง หรือตีความเงื่อนไขกรมธรรม์ไม่ตรงกันก็ตาม เมื่อตัดสินใจจะฟ้องร้องเพราะไม่เห็นชอบด้วยเหตุผล เพียงเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้พร้อม และทำตามขั้นตอนการดำเนินดคีประกันภัยได้ดังนี้

  1. รวบรวมหลักฐานทั้งหมด: เช่น คลิปวิดีโอ, รูปถ่าย, ใบแจ้งความ, กรมธรรม์ และหนังสือตอบกลับจากบริษัทประกันภัย
  2. เจรจากับบริษัทประกันภัย: พยายามเจรจาผ่านตัวแทนบริษัทประกันก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล
  3. ร้องเรียนต่อ คปภ.: เพื่อให้เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยหรือชี้ขาดข้อพิพาท
  4. ยื่นฟ้องศาลคดีแพ่ง: ในท้ายที่สุดหากไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถฟ้องศาลแพ่งทั่วไปหรือศาลแขวงแล้วแต่เขตอำนาจได้

สิทธิของผู้เอาประกันภัย มีอะไรบ้าง?

ทำความเข้าใจก่อนว่า “ผู้เอาประกันภัย” คือ บุคคลที่ทำสัญญากับบริษัทประกัน ด้วยการจ่ายค่าเบี้ยประกันเพื่อแลกกับความคุ้มครอง (รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น) ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ โดยสิทธิของผู้เอาประกันภัยมีดังนี้

  • คัดค้านการปฏิเสธความรับผิดชอบของบริษัทประกัน หากเห็นว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลหรือข้อกฎหมาย
  • สิทธิในการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และโปร่งใส
  • เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกัน กรณีเกิดอุบัติเหตุภายใต้เงื่อนไขในกรมธรรม์ เช่น รถชนรถ รถเป็นรอยขูด เคลมประกัน เป็นต้น
  • ฟ้องคดีแพ่งต่อบริษัทประกัน หากบริษัทไม่ดำเนินการตามที่ตกลง

สิทธิของผู้เสียหาย มีอะไรบ้าง?

สำหรับ “ผู้เสียหาย” นับเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชน ซึ่งอาจเป็นผู้ใช้รถอีกคัน คนเดินถนน ผู้โดยสาร หรือเจ้าของทรัพย์สินที่ได้รับผลกระทบจากรถของผู้เอาประกัน โดยมีสิทธิในคดีประกันภัย ดังนี้

  • เรียกร้องค่าสินไหมจากบริษัทประกันของผู้ก่อเหตุโดยตรง
  • สิทธิยื่นฟ้องทั้งผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันภัยร่วมกัน
  • เรียกค่าเสียหายเกินจากวงเงินคุ้มครองจากผู้เอาประกันภัยโดยตรงได้
  • เรียกค่ารักษาพยาบาลหรือค่าขาดรายได้แม้ไม่มีประกันรถยนต์ชั้น 1

ค่าสินไหมทดแทนกรณีโดนรถชน มีอะไรบ้าง?

เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนถนน เช่น โดนรถชน โดนเบียด หรือใด ๆ ก็ตามที่ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากประกันรถชนได้ โดยผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้ดังต่อไปนี้

กรณีทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

  • ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์
  • ค่าชดเชยความเสียหายของทรัพย์สินอื่น เช่น รั้วบ้าน เสาไฟฟ้า เป็นต้น

กรณีบาดเจ็บหรือป่วยไข้

  • ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล
  • ค่าชดเชยรายวันหากต้องหยุดงาน
  • ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูร่างกาย

กรณีเสียชีวิต

  • ค่าปลงศพ
  • ค่าขาดรายได้ของครอบครัวผู้เสียชีวิต
  • ค่าขาดแรงงานของผู้ที่เป็นผู้นำครอบครัว

แน่นอนว่าค่าสินไหมทดแทนที่สามารถเรียกร้องได้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน มีข้อดีมากกว่าที่คิด แถมยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างมาก อย่าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์รถชนไม่มีประกันเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้นคุณอาจต้องแบกรับค่าใช้จ่ายก้อนโต โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นฝ่ายผิด

ต้องบอกแบบนี้ว่าคดีประกันภัยโดยเฉพาะในกรณีประกันรถชน อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แถมยังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะทำประกันรถยนต์อย่างถูกต้อง สิ่งสำคัญคือผู้เอาประกันภัยจะต้องรู้สึกสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงมีข้อมูลครบถ้วนเมื่อต้องต่อสู่กับบริษัทประกันในชั้นศาล

คำจำกัดความ

ข้อพิพาท ข้อขัดแย้งระหว่างคู่กรณี
คัดค้าน แสดงอาการไม่เห็นด้วย, ทักท้วง
ไม่ชอบด้วยเหตุผล การไม่ยอมรับหรือเห็นด้วยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยมีเหตุผลสนับสนุนที่ไม่เห็นด้วยนั้น ๆ

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

02 080 9292 @mrkumka

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่