โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งฟรี หรือไม่ และมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ?

แชร์ต่อ
โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งฟรี ร่วมโครงการ “มะเร็งรักษาที่ไหนก็ได้ ที่พร้อม” | MrKumka.com

       โรคมะเร็งน่ากลัวทั้งผลจากอาการและค่ารักษา หลายคนจึงสงสัยว่าโรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งฟรีหรือไม่? ซึ่งในส่วนนี้จะบอกว่าฟรีก็ไม่เชิง เพราะคล้ายกับว่ามีวงเงินในการรักษาให้เท่านี้ หากยังอยู่ในสัดส่วนที่กำหนดก็รักษาฟรีแต่ถ้าหากเกินก็ถือเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาให้น้อยลง

 

พูดง่าย ๆ คือจ่ายเพียงส่วนต่างที่เกินมาเท่านั้น แต่จะฟรีหรือไม่ฟรีขึ้นอยู่กับเคสบายเคส แบบนี้น่าจะเข้าใจกว่า และที่เราพูดมาทั้งหมดคือ “โครงการ Cancer Anywhere มะเร็งรักษาที่ไหนก็ได้ ที่พร้อม” นั่นเอง

 

โรงพยาบาลรักษาโรคมะเร็งฟรี ร่วมโครงการ “มะเร็งรักษาที่ไหนก็ได้ ที่พร้อม”

 

Cancer Anywhere เป็นนโยบายที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ให้ได้รับบริการการรักษาครอบคลุมทุกกระบวนการ ในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพและใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด สามารถรักษาข้ามพื้นที่ ข้ามจังหวัดได้ โดยประกาศใช้เมื่อ 1 มกราคม 2564

 

ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าสู่ระบบบริการและได้รับการรักษาพยาบาลด้วยความรวดเร็ว แถมยังรองรับการส่งต่อไปรักการรักษา ณ โรงพยาบาลต่างพื้นที่ ที่มีความพร้อมโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

 

“ที่ไหนก็ได้ที่พร้อม” หมายถึงอะไร ?

 

เนื่องจากการรักษามะเร็งมีการใช้เครื่องมือและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลแต่ละที่ มีทรัพยากรครอบคลุมแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องมือทางการรักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอื่น ๆ ดังนั้นการรักษาโรคจึงวินิจฉัยเฉพาะบุคคลไปว่า ควรรับการรักษาอย่างไร ? แล้วจึงพิจารณาว่าสามารถรักษาที่ไหนได้บ้าง ? จึงเป็นที่มาของคำว่า “รักษาที่ไหนก็ได้ที่พร้อม (รักษา)” ไม่ใช่ว่าจะไปที่ไหนก็ได้

 

ขั้นตอนการรับบริการ Cancer Anywhere | MrKumka.com

 

ขั้นตอนการรับบริการ Cancer Anywhere มีอะไรบ้าง ? ยุ่งยากไหม ?

 

สำหรับขั้นตอนการรักษาตามนโยบาย ขอแบ่งแยกย่อยผู้ป่วยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

สำหรับผู้ป่วยเก่า

  • 1. แจ้งหากต้องการย้ายโรงพยาบาล

    เมื่อผู้ป่วยเก่าต้องการย้ายโรงพยาบาล ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลก่อน (หากโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยรักษาอยู่ไม่ใช่โรงพยาบาลต้นสังกัด จะต้องแจ้งเรื่องไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัด ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพก้าวหน้า)

     

  • 2. เลือกโรงพยาบาลที่สะดวก

    ผู้ป่วยกับผู้ประสานงานของโรงพยาบาล ปรึกษากันด้วยข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเลือกโรงพยาบาลรัฐแห่งใหม่

     

  • 3. เจ้าหน้าที่ดำเนินการส่งต่อ

    เมื่อเลือกหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลร่วมกับแพทย์เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะประสานงานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่เลือกไว้

     

  • 4. ผู้ป่วยได้รับบัตรนัด

    ผู้ป่วยจะได้รับบัตรนัดในแอปพลิเคชัน Cancer Anywhere เพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาลปลายทาง

     

สำหรับผู้ป่วยใหม่

  • 1. ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง หากต้องการย้ายโรงพยาบาล

    ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ว่าต้องการรักษาที่โรงพยาบาลใด (หากโรงพยาบาลที่ตรวจวินิจฉัยไม่ใช่โรงพยาบาลต้นสังกัด จะต้องแจ้งเรื่องไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัด ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพก้าวหน้า)

     

  • 2. เลือกโรงพยาบาลที่สะดวก

    ผู้ป่วยกับผู้ประสานงานของโรงพยาบาล ปรึกษากันด้วยข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเลือกโรงพยาบาลรัฐแห่งใหม่

     

  • 3. เจ้าหน้าที่ดำเนินการส่งต่อ

    เมื่อเลือกหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลร่วมกับแพทย์เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะประสานงานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่เลือกไว้

     

  • 4. ผู้ป่วยได้รับบัตรนัด

    ผู้ป่วยจะได้รับบัตรนัดในแอปพลิเคชัน Cancer Anywhere เพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาลปลายทาง

     

  • 5. เจ้าหน้าที่ติดตั้งแอป Cancer Anywhere

    ผู้ป่วยที่เข้าร่วมนโยบาย เจ้าหน้าที่จะติดตั้งแอปพลิเคชัน Cancer Anywhere ให้กับผู้ป่วย เพื่อใช้ดูข้อมูลนัดหมายการตรวจ การทำเคมีบำบัด หรือการฉายแสง รวมถึงใช้แสดงข้อมูล QR Code หรือเลข Token กับทางเจ้าหน้าที่เมื่อเข้ารับบริการ และจะทำการของคิวการตรวจและการรักษา ในวันและเวลาที่ผู้ป่วยสะดวกทันที

     

นโยบาย Cancer Anywhere ครอบคลุมอะไรบ้าง ?

 

การเข้ารับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม ตามนโยบาย Cancer Anywhere หรือสิทธิบัตรทอง ในปีงบประมาณ 2564 มีดังนี้

 

  • 1. การรักษาแบบเคมีบำบัด

    หน่วยบริการ/สถานพยาบาลรับการส่งต่อทั่วไป ที่มีศักยภาพในการให้เคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งประกอบด้วยการสั่งการรักษา การผสมยา และการบริหารยาเคมีบำบัด

     

  • 2. การรักษาแบบรังสีรักษา

    หน่วยบริการ/สถานพยาบาลที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่ สปสช. กำหนด

     

  • 3. การรักษาแบบอื่น ๆ

    หน่วยบริการในระบบรักษาประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากข้อ 1 และ ข้อ 2 ที่ให้การรักษาและบริการโรคมะเร็งดังนี้

     

    • การตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยครอบคลุมการประเมินระยะของมะเร็ง ตามมาตรฐานของโรคมะเร็งแต่ละชนิด ไม่รวมการคัดกรองเบื้องต้นหรือการศึกษาวิจัย

    • การรักษาภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดจากโรคมะเร็ง ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา รวมถึงโรคร่วมที่พบในการรักษามะเร็งในครั้งนั้น

    • การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา ภายหลังการรักษามะเร็งและโรคร่วม ที่พบในการมารับการรักษามะเร็งในครั้งนั้น

       

ทั้งหมดนี้ตอกย้ำได้ว่า นโยบาย Cancer Anywhere ให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษา ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดการรอคิว และครอบคลุมทุกขั้นตอนการรักษา หากจะถามว่านโยบาย Cancer Anywhere มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ? บอกเลยว่าสำหรับคนที่ไม่มีประกันสุขภาพโรคร้ายแรงหรือไม่มีเงินทองมากมายพอที่จะจ่ายค่ารักษาได้ ก็ถือว่ามีประโยชน์มาก แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสรุปฟรีมั้ยหรือแค่ลดค่าใช้จ่ายลงเท่านั้น แต่ถ้าหากคุณไม่อยากกังวลกับค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลจากโรคมะเร็ง แนะนำให้ซื้อประกันมะเร็งกับ MrKumka ตอนนี้เลย ! เพราะที่นี่พร้อมจัดหาประกันมะเร็งที่ครอบคลุม ไม่ปล่อยให้คุณจมอยู่กับภาระค่าใช้จ่ายซึ่งคาดเดาได้ยากว่าจะจบลงที่เท่าไร

 

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่