คำพูดต้องห้ามที่คุณไม่ควรพูดกับคนที่เป็นโรควิตกกังวล

แชร์ต่อ
คำพูดต้องห้าม สำหรับใช้กับผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล | MrKumka.com

       “โรคทางจิตใจ” หรือ โรควิตกกังวล มีความรุนแรงกว่าความกังวลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แถมยังก่อให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือแม้กระทั่งเรื่องการ “รักษาความสัมพันธ์” กับคนรอบข้าง มากกว่านั้นยังอ่อนไหวต่อคำพูดบางคำรุนแรงกว่าที่คนพูดออกไปคิด ดังนั้น MrKumka จึงจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น รวมถึงข้อควรระวังในการใช้คำพูดกับ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รายละเอียดเป็นอย่างไร ? ไปติดตามพร้อม ๆ กันได้เลย…

 

สาเหตุของ โรควิตกกังวล เกิดจากอะไร ?

 

โรควิตกกังวลมีสาเหตุที่คล้ายกับโรคทางจิตชนิดอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ดังนี้

 

  • 1. โครงสร้างการทำงานของสมอง

    อาจเกิดจาก “ข้อบกพร่อง” ที่เกิดขึ้นกับการทำงานของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ในกรณีที่เกิดความเครียดสะสม ก็อาจจะทำให้สมองส่วนนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงข้อบกพร่องของสมองส่วนความจำ ที่สัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึกด้วย

  •  

  • 2. กรรมพันธุ์

    โรควิตกกังวลสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกได้

  •  

  • 3. สิ่งแวดล้อม

    อาทิ การได้รับบาดเจ็บ หรือพบเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรควิตกกังวล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลจากการถ่ายทอดพันธุกรรม เนื่องจากจะไวต่อการถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยดังกล่าวเป็นพิเศษ

  •  

ประเภทและอาการของโรควิตกกังวล | MrKumka.com

 

ประเภทและอาการของโรควิตกกังวล

 

อาการของโรควิตกกังวลจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรควิตกกังวล ซึ่งก็มีทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้

 

  • 1. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: CAD)

    มีความกังวลในเรื่องชีวิตประจำวันมากเกินไป ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันได้รับผลกระทบ เมื่อความเครียดและความกังวลยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้มีอาการกระวนกระวาย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด และมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

  •  

  • 2. โรคแพนิก (Panic Disorder: PD)

    เกิดอาการกลัว วิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ หรือมีอาการใจสั่น เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก เวียนหัว คลื่นไส้ หนาวสั่นหรือร้อนวูบ และท้องไส้ปั่นป่วน ซึ่งหลายคนอาจมองว่าตัวเองกำลังหัวใจวาย หรือเป็นโรคร้ายแรง ในความเป็นจริงแล้วเป็นเพียงความรู้สึกไม่สบายจากการแพนิกเท่านั้น

  •  

  • 3. โรคกลัวแบบเจาะจง (Phobias)

    การกลัวบางสิ่งบางอย่าง สถานการณ์ กิจกรรมที่เฉพาะเจาะจงมากเกินไป เช่น กลัวเลือด กลัวที่แคบ กลัวสัตว์ประเภทต่าง ๆ

  •  

  • 4. โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder: OCD)

    ความคิดวิตกกังวลที่มีการคิดซ้ำ ๆ และตอบสนองด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เช่น คิดว่าลืมปิดไฟ ก็จะคอยตรวจซ้ำ ๆ ว่าปิดไฟแล้วหรือยัง

  •  

  • 5. โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder: PTSD)

    อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น หลังจากประสบกับเหตุการณ์เลวร้าย เช่น ภาวะภัยพิบัติ ภาวะเฉียดตาย ถูกทำร้าย หรือเห็นคนใกล้ตัวเสียชีวิต ซึ่งโรควิตกกังวลประเภทนี้จะแสดงอาการหลายอย่าง อาทิ เงียบเฉย ขาดการตอบสนอง หวาดกลัว กังวลในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ตกใจง่าย เป็นต้น

  •  

การวินิจฉัยโรควิตกกังวล

 

สำหรับการวินิจฉัยขั้นตอนแรก แพทย์จะทำการถามประวัติที่จำเป็น อาทิ อาการที่เกิดขึ้นและโรคประจำตัว รวมถึงตรวจร่างกายเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ตรวจเลือด ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอื่น ๆ เพื่อแยกโรคที่มีอาการคล้ายกับโรควิตกกังวล ซึ่งถ้าหากตรวจไม่พบโรคทางกายภาพใด ๆ แพทย์ก็จะทำการส่งตัวไปให้จิตแพทย์วินิจฉัยโดยการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินสุขภาพจิตอย่างละเอียดต่อไป

 

การรักษาโรควิตกกังวล

 

การรักษาโรควิตกกังวลจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรค ซึ่งโดยทั่วไปก็จะมีการรักษาดังนี้

 

  • 1. จิตบำบัด

    เป็นการรักษาด้วยการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้และรับมือปัญหาของโรควิตกกังวลได้

  •  

  • 2. การรักษาด้วยการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม

    เป็นการรักษาทางจิตที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้การปรับเปลี่ยนวิธีคิด และพฤติกรรมที่อาจจะนำไปสู่ปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึก

  •  

  • 3. การฝึกจัดการกับความเครียด

    ฝึกการจัดการกับความเครียดและการทำสมาธิ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่สงบลง และยังช่วยให้การบำบัดด้วยวิธีอื่น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  •  

“คำพูดต้องห้าม” สำหรับใช้กับผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล

 

แม้ผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลจะต้องการ “กำลังใจ” จากคนรอบข้าง แต่คุณรู้ไหมว่า ? คำพูดบางคำอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด ซึ่งจะมีคำว่าอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย !

 

  • 1. ไม่ต้องกังวล

    แน่นอนว่าความกังวลมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ตั้งแต่เรื่องเล็กมาก ๆ ไปจนถึงเรื่องที่รุนแรง การพยายามปลอบใจผู้ป่วยโรควิตกกังวล ด้วยคำว่า “ไม่ต้องกังวล”​ อาจจะไม่ใช่คำพูดที่ดีเท่าไหร่นัก เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะ “ละทิ้ง” ความกังวลเหล่านี้ได้

  •  

  • 2. คุณแค่ต้องคิดในแง่บวก

    ถือเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะให้ผู้ป่วยโรควิตกกังวลคิดในแง่บวก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะคิดหาทาง “เอาชนะ” กับสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าคำแนะนำของคุณจะมีประโยชน์ แต่ก็อาจจะนำพาปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้เช่นกัน

  •  

  • 3. คุณไม่เป็นอะไร

    หากคุณเอ่ยคำว่า “คุณไม่เป็นอะไร” ในขณะที่ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ มีแต่จะทำให้พวกเขาตื่นตระหนกและเจ็บปวด ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะควบคุมปฏิกิริยาของตัวเองได้ มิหนำซ้ำผู้ป่วยยังอาจจะปกปิดอาการที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้คุณรู้

  •  

โรคทางจิตใจถือเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรืออาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน ที่สำคัญ ! ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่หลากหลายมาก หลายคนจึงเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา เนื่องจากกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจจะบานปลาย ซึ่งถ้าหากคุณกังวลในเรื่องนี้แล้วล่ะก็ สบายใจได้เลย ! เพราะ MrKumka พร้อมเสนอประกันสุขภาพ ที่เหมาะสมกับคุณ ไม่ว่าจะเบี้ยประกัน หรือความคุ้มครองต่าง ๆ รับรองว่าอุ่นใจหายห่วง เปรียบเทียบประกันได้แล้ววันนี้ คลิกเลย ! MrKumka.com

 

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่