วิธีดูยางรถยนต์ ตัวเลขบนยาง ขนาดยางรถยนต์ อ่านยังไง?

แชร์ต่อ
วิธีดูยางรถยนต์ ความหมายตัวเลขบนยางรถยนต์

       เคยสงสัยกันไหมว่า ? ตัวเลขบนยางรถยนต์ มีความหมายอย่างไร ? ทำไมต้องมี ? หากคุณกำลังค้นหาคำตอบในประเด็นนี้อยู่ ไม่ต้องไปตามหาจากที่อื่นให้เสียเวลา เพราะ MrKumka ได้รวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ มาไขข้อข้องใจให้คุณแบบละเอียดยิบ รับรองว่าอ่านจบแล้วต้องร้อง “อ๋อ” อย่างแน่นอน แต่จะมีความหมายว่าอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามและทำความเข้าใจพร้อม ๆ กับเราได้เลย !

 

วิธีดูยางรถยนต์ ความหมายตัวเลขบนยางรถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย !

 

เชื่อว่าหลายคนที่เคยสังเกต แก้มยางรถยนต์ แล้วพบตัวเลขต่าง ๆ ถูกสลักอยู่ คงจะเกิดความสงสัยไปตาม ๆ กันใช่ไหมล่ะ ? ว่าตัวเลขหรือตัวอักษรเหล่านั้น กำลังบอก “อะไร” คุณอยู่หรือเปล่า ? บอกตรงนี้เลยว่าบอกอะไรคุณได้หลายอย่างเลยล่ะ ! ซึ่งยางรถยนต์ ส่วนใหญ่ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร P และตามด้วยตัวเลขเสมอ เช่น P225/55R15 91S โดยส่วนใหญ่จะเป็นยางของรถยนต์ทั่วไป รวมไปถึงยางรถตู้ขนาดเล็ก

 

แต่หลายครั้งมักจะมีตัวอักษร T ปรากฏมาให้เห็นบ้าง หากคุณได้พบเจอผ่านตามาบ้าง ก็ไม่ต้องแปลกใจหรือคิดว่ายางรถของคุณมีความปกติ หรือไม่ได้มาตรฐาน เพราะตัวอักษรดังกล่าวย่อมาจากคำว่า Temporaray ที่แปลว่า “ชั่วคราว” หมายถึง ยางอะไหล่นั่นเอง

 

วิธีอ่านรหัสบน ยางรถยนต์ ตัวเลขต่าง ๆ บอกอะไร ?

 

หากคุณยังมองภาพไม่ออกว่าตัวอักษรและตัวเลขต่าง ๆ บนยางรถ มีการอ่านค่าหรือมีความหมายว่าอย่างไร ? บ่งบอกถึงขนาดยางรถยนต์หรือไม่ ? เราจะอธิบายให้คุณเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ด้วยการยกตัวอย่างจากรหัส P225/55R15 91S

 

วิธีอ่านรหัสบนยางรถยนต์ ตัวเลขต่างๆ บนยางรถยนต์

 

ความกว้างของยาง

ตัวเลขแรกของยางจะบอกในเรื่อง “ความกว้างหน้ายาง” เป็นมาตรฐาน เลข 225 หมายถึง “ความกว้างของยางส่วนที่สัมผัสกับพื้น” ซึ่งตามปกติแล้วจะมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร โดยวัดจากแก้มยางด้านหนึ่งไปสู่อีกด้าน (ไม่รวมความสูงของตัวหนังสือ สัญลักษณ์ หรือส่วนต่าง ๆ ที่ยื่นออกมาจากแก้มยาง) สำหรับตัวเลข 225 ที่เรายกตัวอย่างมา จะหมายความว่าหน้ายางมีขนาดอยู่ที่ 225 มิลลิเมตร

 

อัตราส่วนขนาดล้อรถ (แก้มยาง)

สำหรับ “อัตราส่วนขนาดล้อรถ”​ หรือที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในชื่อเรียกว่า “ซีรีส์ยาง” จะเป็นตัวเลขลำดับต่อมา คือ 55 โดยจะวัดอัตราส่วนระหว่างความสูง และความกว้างของยางรถ สำหรับตัวเลขดังกล่าวจะหมายความว่า ยางมีความสูงอยู่ที่ 55% ของความกว้าง ซึ่งบอกถึง “สมรรถนะ” ในการเกาะพื้นผิวถนนนั่นเอง

 

ประเภทโครงสร้างยางรถยนต์

สำหรับ “โครงสร้าง” ภายในยางรถยนต์จะมีทั้งหมด 2 แบบ คือ Radial (R) และ Diagonal or Bias Ply (D) ซึ่งมีความหมายดังนี้

 

  • Radial หรือยางเรเดียล คือ ยางที่มีโครงสร้างเป็นผ้าใบ และเส้นลวดพันอยู่รอบยางในมุมทแยงกับเส้นรอบวง
  • Diagonal or Bias Ply หรือยางผ้าใบ คือ ยางที่นำผ้าใบมาเรียงซ้อนกันแบบเฉียงไปมาหลายชิ้น

 

ซึ่งจากตัวอย่าง คือ P225/55R15 91S หมายความว่ายางรถยนต์เส้นนี้ ใช้ยางรูปแบบเรเดียลนั่นเอง

 

*หมายเหตุ: ในปัจจุบันยางรถยนต์ เปลี่ยนมาใช้ยาง R แทบทั้งหมด
 

ขนาดยางรถยนต์เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ

สำหรับตัวเลขลำดับที่สาม คือ 15 ซึ่งตามปกติแล้วจะมีหน่วยเป็นนิ้ว จากตัวอย่าง P225/55R15 91S หมายความว่ายางรถยนต์เส้นนี้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 15 นิ้ว (ใส่กับล้อกระทะ หรือ ล้อแม็ก ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 นิ้ว) หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในชื่อว่า “ยางรถยนต์ขอบ15” นั่นเอง

 

ความสามารถในการรับน้ำหนัก

สำหรับตัวเลขชุดสุดท้าย คือ 91 หมายถึง “ความสัมพันธ์” ระหว่างดัชนีรับน้ำหนัก กับความสามารถในการรับน้ำหนักของยางแต่ละเส้น ไม่ใช่น้ำหนักที่สามารถรองรับได้ ตามปกติแล้วจะเริ่มต้นที่ 60-179 หรือเป็นตัวเลขที่แสดงถึงความสามารถในการรับน้ำหนัก ได้ตั้งแต่ 250-7,750 กิโลกรัม พูดง่าย ๆ ว่าน้ำหนักบรรทุกที่ยางสามารถรับได้ เมื่อ “เติมลมยางรถยนต์เต็มที่”

 

ดัชนีความเร็วของยาง

สำหรับดัชนีความเร็วของยาง จากตัวอย่าง P225/55R15 91S จะหมายถึงตัวอักษร S ซึ่งสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าหากบางรุ่นที่แทนด้วยตัวอักษร R จะสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือถ้าเป็นตัวอักษรอื่นก็จะมีความหมายว่าทำความเร็วได้แตกต่างกันออกไป

 

  • S : ยางเส้นนั้นรองรับความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • T : ยางเส้นนั้นรองรับความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • H : ยางเส้นนั้นรองรับความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • V : ยางเส้นนั้นรองรับความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • W : ยางเส้นนั้นรองรับความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • Y : ยางเส้นนั้นรองรับความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • Z : ยางเส้นนั้นรองรับความเร็วสูงสุดอยู่ที่ มากกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

ต้องบอกก่อนว่ายางที่มีดัชนีความเร็วสูง ย่อมมีความสามารถในการ “ยึดเกาะถนน” ได้ดีกว่า หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน ควรใช้ยางอะไหล่ที่มีดัชนีความเร็วเท่าเดิมหรือสูงกว่า ทั้งนี้เพื่อ “รักษาความสามารถ” ในการทำความเร็วของรถยนต์นั่นเอง แต่ถ้าหากใช้ยางรถยนต์ที่มีค่าดัชนีรถยนต์ไม่เท่ากัน แนะนำให้ยึด “ค่าต่ำที่สุด” เพื่อความปลอดภัย

 

*หมายเหตุ: “ดัชนีความเร็วสูงสุด” ไม่ใช่ความเร็วแนะนำในการเดินทาง อย่าได้คิดเร่งเครื่องตามตัวเลขที่ปรากฏเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นอาจจะผิดกฎหมายจราจรได้
 

จะเห็นได้ว่าตัวเลขต่าง ๆ บนยางรถยนต์คู่ใจ ที่เรานำมาบอกต่อคุณในวันนี้ ไม่ใช่ตัวเลขหรือตัวอักษรที่นำมาสลักบนแก้มยางเพื่อความสวยงาม หรือความแปลกตาแต่อย่างใด เพราะอย่างที่เห็นว่าทั้งตัวเลขและตัวอักษรต่าง ๆ ล้วนมีความหมายเฉพาะตัว ดังนั้นหากต้องการเปลี่ยนยาง หรือต้องการหาซื้อยางอะไหล่ ควรจะยึดข้อมูลในส่วนนี้เป็นหลักจะดีที่สุด

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ยางรถยนต์” เป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนรถยนต์ชิ้นสำคัญ ที่คุณไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะถ้าหากยางหรือล้อรถยนต์เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือใหญ่มากแค่ไหนก็ตาม ล้วนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าหากคุณต้องการสร้างความอุ่นใจให้มากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า “อุบัติเหตุไม่เลือกเวลาเกิด” สามารถเลือกซื้อประกันรถยนต์ เพื่อเสริมความมั่นใจตลอดการเดินทาง โดยเปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์กับ MrKumka ได้ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป !

 

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่