ซื้อรถเงินสดหรือผ่อนดี ? มารู้จักประโยชน์การ ขอสินเชื่อรถยนต์ ตอนซื้อรถกันดีกว่า

แชร์ต่อ
ไขข้อสงสัยซื้อรถเงินสดหรือผ่อนดี

หากคุณกำลังตั้งคำถามกับตัวเองว่าควร ซื้อรถเงินสดหรือผ่อนดี เชื่อว่าคงจะพยายามค้นหาคำตอบหัวแทบระเบิดเลยใช่ไหมล่ะ ? เพราะแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป MrKumka ก็ได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจมาให้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะ “ประโยชน์ของการขอสินเชื่อรถยนต์” แต่จะมีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์แค่ไหน ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กับเราได้เลย !

ไขข้อสงสัย ซื้อรถเงินสดหรือผ่อนดี

การเลือกซื้อรถยนต์ไว้ใช้งานสักคันนับเป็น “ปัญหาใหญ่” ที่คุณจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะเป็น “ค่าใช้จ่ายก้อนโต” ที่ไม่ใช่แค่เพียงการจ่ายเงิน/ขอสินเชื่อแล้วจบไป แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่แฝงอยู่มากมาย เราได้รวบรวม “ประโยชน์” ของการซื้อรถแบบสดและผ่อน มาให้คุณได้ทำความเข้าใจ ดังนี้

ซื้อรถเงินสด ดียังไง ? ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

การซื้อรถด้วยเงินสด เหมาะสำหรับคนที่พร้อมจ่ายเงินก้อนในคราวเดียว รวมถึงไม่ต้องการแบกรับภาระ (ค่างวด) ในระยะยาว แต่เงินที่นำมาซื้อรถยนต์ไม่ควรเป็นเงินร้อน หรือเงินที่จำเป็นต้องใช้หมุนเวียนในชีวิตประจำวัน

ผ่อนรถควรวางเงินดาวน์เท่าไร

4 ข้อดีของการซื้อรถเงินสด

  1. ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะตามมา (จ่ายเพียงราคารถและค่าบริการอื่น ๆ เท่านั้น)
  2. สามารถตัดสินใจซื้อได้ทันที ไม่ต้องรอโปรโมชั่น หรือการอนุมัติสินเชื่อ
  3. ได้รับส่วนลดเนื่องจากซื้อเงินสด จ่ายจบแบบเต็มจำนวน (บางศูนย์)
  4. ไม่ต้องเป็นหนี้ระยะยาว สามารถจัดการบริหารการเงินได้เป็นอย่างดี และไม่ต้องคอยเป็นกังวลเรื่องเกินกำหนดระยะเวลาผ่อน

เอกสารที่ต้องใช้เมื่อซื้อรถเงินสด

แม้ว่าการซื้อรถเงินสดจะสามารถซื้อได้ทันทีที่ต้องการ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องเตรียมเอกสารใด ๆ เลย เอกสารที่คุณจะต้องเตรียมก่อนซื้อรถมีดังนี้
  1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ
  2. ทะเบียนบ้าน
  3. เงินค่ารถ ถ้าเป็นการโอนผ่าน Internet Banking ควรตรวจสอบผู้รับว่าเป็นในนามบริษัทหรือบุคคล

ซื้อรถเงินผ่อนดีหรือเปล่า ?

หากคุณต้องการซื้อ “รถใหม่” แบบผ่อน สินเชื่อประเภทนี้จะเรียกว่า “สินเชื่อรถยนต์แบบเช่าซื้อ” เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการจ่ายเงินก้อนใหญ่ในคราวเดียว หรือไม่มีเงินสดเพียงพอต่อการซื้อรถ การขอสินเชื่อในลักษณะนี้เป็นการ “จ่ายเงินดาวน์” ก้อนแรกก่อน และที่เหลือก็เป็น “ค่างวด” ที่ต้องแบ่งจ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งรถยนต์จะเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันการเงินที่คุณยื่นกู้ และจะกลายเป็นของคุณก็ต่อเมื่อผ่านชำระค่างวดครบถ้วนแล้ว

ข้อดีของการขอสินเชื่อซื้อรถ

  • สามารถซื้อรถยนต์ได้แม้ว่าจะไม่มีเงินก้อน แถมยังไม่ต้องเสียเวลาเก็บเงินนานหลายปี
  • สินเชื่อรถยนต์ส่วนใหญ่จะ “คิดดอกเบี้ยคงที่” ทำให้มีค่างวดที่เท่ากันทุกเดือน สามารถวางแผนรายจ่ายต่อเดือนได้ง่ายขึ้น
  • มีระยะเวลาการผ่อนชำระค่อนข้างนาน
  • กรณีที่ยอดหนี้เหลือไม่มากหรือต้องการ “ปิดยอดหนี้” ก่อน สามารถทำได้ แถมยังอาจได้รับส่วนลดด้วย

สูตรคิดดอกเบี้ย หากคุณจะผ่อนรถ

เมื่อคุณตัดสินใจว่าจะซื้อรถเงินผ่อน ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าการผ่อนรถยนต์สัก 1 คัน จะต้องคำนวณอะไรบ้าง !?

  1. สูตรคำนวณค่าจัดไฟแนนซ์: ราคารถ – เงินดาวน์ = ยอดจัดไฟแนนซ์
  2. สูตรคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรายปี: ยอดจัด (ข้อ 1) x อัตราดอกเบี้ย = ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรายปี
  3. สูตรคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด: ดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนรถทั้งหมด (ข้อ 2) x จำนวนปีที่ผ่อน = ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด
  4. สูตรคำนวณยอดทั้งหมดที่ต้องจ่าย: ยอดไฟแนนซ์ (ข้อ 1) + ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด (ข้อ 3) = ยอดทั้งหมดที่ต้องจ่าย
  5. สูตรคำนวณค่างวดในแต่ละเดือน: ยอดทั้งหมดที่ต้องจ่าย (ข้อ 4) / จำนวนเดือนที่ผ่อน = ค่างวดในแต่ละเดือน

ยกตัวอย่าง รถยนต์ราคา 1,000,000 บาท เงินดาวน์ 40% (400,000 บาท) อัตราดอกเบี้ย 5% ผ่อน 48 งวด (4 ปี)

  1. สูตรคำนวณค่าจัดไฟแนนซ์: 1,000,000 – 400,000 = 600,000 บาท
  2. สูตรคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรายปี: 600,000 x 5% = 30,000 บาท
  3. สูตรคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด: 30,000 x 4 = 120,000
  4. สูตรคำนวณยอดทั้งหมดที่ต้องจ่าย: 600,000 + 120,000 = 720,000
  5. สูตรคำนวณค่างวดในแต่ละเดือน: 720,000 / 48 = 15,000 บาท

ผ่อนรถควรวางเงินดาวน์เท่าไร ?

หลังจากอ่านรายละเอียดไปคร่าว ๆ แล้ว และคุณตัดสินใจที่ “ผ่อนรถ” ลำดับต่อมาต้องทำความเข้าใจด้วยว่า “ควรวางเงินดาวน์เท่าไหร่” เพื่อให้การผ่อนจ่ายค่างวดของคุณไม่ตึงจนเกินไป ซึ่งต้องบอกก่อนว่ายิ่งดาวน์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งผ่อนสบายมากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้นการวางเงินดาวน์ที่เหมาะสม ควรวางดาวน์ประมาณ 25-40% ของราคารถ เพราะถ้าหากคุณวางดาวน์น้อยกว่า 20% นอกจากจะต้องแบกรับค่าผ่อนชำระที่มากขึ้นแล้ว ยังจำเป็นจะต้องหาคนค้ำประกัน และถ้าหากรายได้ไม่ถึง 2 เท่าของค่างวดก็อาจจะต้องใช้ตัวช่วยอื่น ๆ อย่างการกู้ร่วม เพื่อเพิ่มโอกาสในการกู้ผ่านให้ง่ายขึ้น

ขอย้ำอีกครั้งว่าการตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคัน มีค่าใช้จ่ายที่แอบแฝงอยู่มากมาย เช่น ค่าซ่อมบำรุง ค่าที่จอดรถ ค่าน้ำมัน รวมถึง “ค่าประกันรถยนต์” เนื่องจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในกรณีที่คุณต้องการซื้อความคุ้มครองให้รถคู่ใจ คุ้มครองเต็มแม็กซ์ เบี้ยประกันสบายกระเป๋า MrKumka นับเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี สามารถเข้ามาเปรียบเทียบประกันออนไลน์ เพื่อรับความคุ้มครองดีที่สุดได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่