รู้จักอาหารโซเดียมต่ำ กับประโยชน์ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

แชร์ต่อ
อาหารโซเดียมต่ำกับประโยชน์ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

“โซเดียม” นับเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกาย แต่คุณควรจะเลือก อาหารโซเดียมต่ำ เพื่อผลดีต่อการดูแลสุขภาพในระยะยาว ไม่ส่งผลเสียต่าง ๆ ตามมาแบบไม่หยุดหย่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เกี่ยวกับไต หัวใจ และความดันโลหิตสูง ต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมที่มีมากจนเกินไปเด็ดขาด

กับเรื่องราวการดูแลสุขภาพว่าด้วยเรื่องการบริโภคอาหารเกลือต่ำ หากยังมองภาพไม่ออก MrKumka ได้รวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งนี้มาให้คุณแล้ว ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลย

ข้อดีของการรับประทาน อาหารโซเดียมต่ำ

การรับประทาน “อาหารโซเดียมต่ำ” หรืออาหารเกลือต่ำ จะช่วยป้องกันโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจจะตามมาได้จากเงื่อนไขที่โซเดียมมากเกินไป เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคไต แถมยังช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ โดยปริมาณของโซเดียมที่ร่างกายควรจะได้รับต่อวันคือต้อง “น้อยกว่า” 2,000-3,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่า “เกลือ 1 ช้อนชา” นั่นเอง

ระดับโซเดียมในร่างกาย

  • ระดับโซเดียมปกติในเลือด 135-145 mEq/L
  • ระดับโซเดียมต่ำในเลือด <135 mEq/L ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ระดับโซเดียมสูงในเลือด >145 mEq/L ส่งผลให้มีอาการกระหายน้ำ และเกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย

“โซเดียม”​ อยู่ในอะไรบ้างที่คุณบริโภค

หลายคนมองว่า “ไม่เค็ม=ไม่มีเกลือ ไม่มีโซเดียม” ความเป็นจริงอาจไม่ใช่อย่างที่คุณคิด และสิ่งต่าง ๆ ที่คุณรับประทานเข้าไปในแต่ละวัน อาจมีโซเดียมปะปนอยู่ แต่คุณไม่รู้ มีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย

  • เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก

    ซีอิ้วขาว ซีอิ้วขาวเจ น้ำมันหอย เกลือเม็ด เกลือป่น น้ำปลา ผงปรุงรส ซุปก้อน ซุปผง น้ำพริกสำเร็จรูป น้ำพริกแดง น้ำพริกแจ่ว น้ำพริกหนุ่ม น้ำกะปิ น้ำปลาร้า ฯลฯ

  • เครื่องปรุงรสที่มีหลายรส แต่มีเกลือปะปนอยู่ด้วย

    ซอสตราไก่งวง (เปรี้ยวเค็ม) ซอสตรากระต่าย (Worcester sauce) ซอสพริก (เปรี้ยวเผ็ดเค็ม) น้ำจิ้มสุกียากี้ น้ำจิ้มไก่ย่าง

  • อาหารดองเค็ม ทั้งเค็มจัดและ “ไม่เค็ม”

    ปลาเค็มไม่จัด (แดดเดียว) กุนเชียง ไข่เค็ม ปูเค็ม ผักดองเค็ม เช่น หัวไชโป้ว ตั้งฉ่าย อาหารดองเปรี้ยว เช่น ปลาส้ม แหนม ปลาเจ่า กระเทียมดอง หน่อไม้ดอง

รับประทานอย่างไรให้รับโซเดียมได้อย่าง “พอเหมาะ”

รับประทานอย่างไรให้รับโซเดียมได้อย่างพอเหมาะ

ด้วยความที่ “โซเดียม” สามารถพบเจอได้ตามอาหารหมักดอง เครื่องปรุงรส และอาหารแปรรูปต่าง ๆ อาจทำให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเป็น โรคร้ายแรง อยู่แล้ว เมื่อรับประทานสิ่งเหล่านี้เข้าไป อาจจะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมวิธีการรับประทานให้ “ห่างไกลโซเดียม”​ มาให้คุณได้ทำความเข้าใจ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยง “เครื่องปรุงรสที่ไม่ทราบโซเดียม” หากมีบอกควรจะเลือกเครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมต่ำ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดองเค็ม, อาหารหมักดอง และอาหารแปรรูป เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีปริมาณโซเดียมค่อนข้างมาก แถมบางอย่างไม่ทราบปริมาณโซเดียมที่ชัดเจน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส
  • หลีกเลี่ยงการเติมเกลือโดยไม่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ใส่ผงฟู เช่น ขนมอบต่าง ๆ คุกกี้ เค้ก พาย เป็นต้น
  • ควรมองหาวิธีการปรุงอาหารหลายรส เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เกลือในการประกอบอาหารเพียงอย่างเดียว

ทั้งหมดนี้คือวิธีการรับประทานอาหาร ที่ช่วยให้ร่างกายของคุณห่างไกลจากโซเดียมได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานอาหารหรือสิ่งต่าง ๆ ทุกครั้ง แนะนำให้อ่านฉลากบนผลิตภัณฑ์ให้ดีซะก่อน
หากพบว่ามีปริมาณโซเดียมที่สูงมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงจะดีกว่า

อาหารเกลือต่ำประเภทต่าง ๆ มีอะไรบ้าง ?

หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจจะตามมาจากการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เราได้ทำการลิสต์อาหารต่าง ๆ ที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ รับประทานบ่อยแค่ไหนก็ไม่เสี่ยงมาให้คุณได้รู้จักแล้ว ไปทำความคุ้นเคยพร้อม ๆ กันเถอะ !

  • ผลไม้โซเดียมต่ำ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ กล้วย แอปเปิ้ล ลูกแพร์ อะโวคาโด
  • ผักโซเดียมต่ำ บรอดโคลี กระหล่ำดอก มันฝรั่ง มันเทศ ฟักทองน้ำเต้า พาร์สนิป
  • ถั่ว เมล็ดพืช และธัญพืชโซเดียมต่ำ ถั่วลิสง อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง ควินัว ข้าวกล้อง พาสต้าโฮสวีต
  • เนื้อสัตว์โซเดียมต่ำ ไก่ ไก่งวง ปลาค็อค ปลากระพงขาว ปลาทูน่า
  • น้ำมันโซเดียมต่ำ น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด
  • เครื่องปรุงรสโซเดียมต่ำ น้ำส้มสายชู มายองเนส ซอสโซเดียมต่ำ กระเทียมผง สมุนไพร เครื่องเทศ
  • เครื่องดื่มโซเดียมต่ำ น้ำเปล่า ชา กาแฟ น้ำผลไม้โซเดียมต่ำ

หากคุณต้องการลดปริมาณโซเดียม เพียงเริ่มจากขั้นตอนง่าย ๆ อย่างการ​ “เลือกรับประทานอาหารโซเดียมต่ำ” ที่เราลิสต์มาให้คุณเมื่อข้างต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณโซเดียมในร่างกายได้แล้ว ยังให้ประโยชน์กับร่างกายได้อย่างมหาศาลอีกด้วย เพียงเท่านี้ร่างกายของคุณจะห่างไกลจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ แล้วล่ะ

ไม่อยากลดเค็ม ใช้ “เกลือลดโซเดียม” ได้หรือไม่ !?

หลายคนหันมาใช้ “เกลือลดโซเดียม” ในการปรุงอาหารต่าง ๆ เพราะไม่อยากลดเค็ม ซึ่งบอกเลยว่าสามารถใช้ทดแทนกันได้ เนื่องจากเป็นการใช้ “โพแทสเซียม” มาเป็นส่วนประกอบแทนโซเดียม แต่ใช่ว่าการหันมาใช้เกลือลดโซเดียมแล้ว คุณอาจจะหละหลวมการดูแลสุขภาพตัวเอง โดยเฉพาะ “ผู้ป่วยโรคไต” ที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม หรือจำต้องเข้ารับคำปรึกษาว่า การเลือกใช้สิ่งทดแทนกันนั้น เป็นตัวเลือกที่ดีต่อร่างกายจริง ๆ หรือไม่

แม้ว่าการปรับลดอาหารที่มีโซเดียมสูง อาจจะทำให้การเจริญอาหารในช่วงแรกลดน้อยลง
แต่ถ้าอ้างอิงจากงานวิจัยต่าง ๆ แล้ว ผู้ที่ลดการรับประทานอาหารโซเดียมสูง จะค่อย ๆ หันมาชอบอาหารที่มีโซเดียมต่ำในที่สุด และเมื่อกลับไปรับประทานอาหารโซเดียมสูงอีกครั้ง จะรู้สึกว่ารสชาติเค็มเกินไป นอกจากนี้อาหารที่มีโซเดียมสูง ยังเป็นบ่อเกิดของโรคมะเร็งได้อีกด้วย หากคุณกังวลใจ กลัวว่าตัวเองจะแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว การเลือกซื้อประกันมะเร็งก็นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบประกันมะเร็งออนไลน์กับ MrKumka ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย !

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่