น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ แต่ละประเภทน้ำมันเชื้อเพลง แตกต่างกันอย่างไร ?

แชร์ต่อ
ความแตกต่างน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภท

“น้ำมันเชื้อเพลิง” หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญอันดับต้น ๆ ของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่รถน้ำมันยังเป็นส่วนใหญ่บนท้องถนน แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเบนซิน คือ อะไร? น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ หรือดีเซลมีความแตกต่างกันอย่างไร? เหมาะกับรถยนต์ประเภทไหนบ้าง?

MrKumka เล่าเรื่อง.. สำหรับมือใหม่เริ่มใช้รถและผู้ใช้รถทุกคนที่ยังไม่รู้ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง เราจะพาคุณไปทำความรู้จักน้ำมันรถแต่ละประเภทให้มากขึ้น ยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ให้ยาวนานกว่าเดิม อีกทั้งในแง่สมรรถนะสูงสุดสำหรับรถของคุณ มีรายละเอียดที่น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน? ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย!

น้ำมันเชื้อเพลิง แต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร?

วิธีการดูแลรักษารถยนต์ที่ดีที่สุด คือ การเติมน้ำมันรถที่เหมาะกับรถยนต์คู่ใจของคุณ เพราะช่วยป้องกันการอุดตัน หรือระบบการทำงานที่บกพร่อง ใช้งานแล้วไม่มีสะดุด ราบรื่นตลอดการเดินทาง ดังนั้นหากต้องการให้รถยนต์อยู่กับเราไปนาน ๆ ควรเช็กให้ดีว่า “รถยนต์ของคุณเหมาะกับน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใด”

เปรียบเทียบ “แความตกต่าง” ของน้ำมันเชื้อเพลิง

น้ำมันเชื้อเพลิงที่สามารถใช้กับรถยนต์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ และแบ่งเป็นประเภทยิบย่อยอีกมากมาย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • 1. น้ำมันเบนซิน

    น้ำมันเบนซิน คือ เป็นน้ำมันที่กลั่นออกมาจาก “น้ำมันดิบ” และนำมาเข้าสู่กระบวนการ “ออกเทน” เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ น้ำมันเบนซิน 91 (ธรรมดา) และน้ำมันเบนซิน 95 (พิเศษ)

    • น้ำมันเบนซินพิเศษ หรือน้ำมันเบนซิน 95

      คือ น้ำมันที่มีค่าออกเทน 95 มีส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว เหมาะสำหรับ “รถยนต์ทุกประเภท” เนื่องจากไม่มีเอทิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ช่วยให้การเผาไหม้ของรถยนต์สมบูรณ์ ตอบสนองทุกการขับขี่ได้เป็นอย่างดี

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันเบนซิน 95 ได้: ใช้ได้กับรถยนต์เกือบทุกประเภท

    • น้ำมันเบนซินธรรมดาหรือน้ำมันเบนซิน 91

      คือ น้ำมันที่มีค่าออกเทน 91 มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และไม่มีเอทิลแอลกอฮอล์เช่นกันเดียวกับน้ำมันเบนซิน 95

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันเบนซิน 91 ได้: ใช้ได้กับรถยนต์เกือบทุกประเภท

  • 2. น้ำมันแก๊สโซฮอล์

    น้ำมันแก๊สโซฮอล์ คือ น้ำมันเบนซินอีกประเภทที่สกัดจากพืชหลากหลายชนิด เช่น มันเทศ ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งเรียกกันว่า “เอทานอล” เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันเบนซิน ก็จะกลายเป็น​ “พลังงานทดแทนแก๊สโซฮอล์” ซึ่งในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

    • น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91

      น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 หรือ E10 สามารถทดแทนน้ำมันเบนซิน 91 ได้ เพราะมีส่วนผสมระหว่างเบนซินพื้นฐาน vs เอทิลแอลกอฮอล์ อยู่ที่ 9:1 มีความบริสุทธิ์ 99.5% แนะนำให้ใช้กับรถยนต์ที่ระบุว่าใช้กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เท่านั้น

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ได้: Ford Territory, Honda Civic Hybrid, Jeep Cherokee, Mazda Tribute เป็นต้น

    • น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95

      น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 หรือ E10 สามารถทดแทนน้ำมันเบนซิน 95 ได้เช่นกัน เพราะมีส่วนผสมระหว่างเบนซินไร้สารตะกั่ว vs เอทานอล (แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน 10%) มีราคาที่ย่อมเยากว่าเบนซิน 95 แต่ถ้าหากจอดรถไว้นาน ๆ ก็อาจจะ “ระเหย” ได้ แนะนำให้ใช้กับรถยนต์ที่ระบุว่า ใช้กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เท่านั้น

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ได้: Chevrolet Zafira, Ford Focus, Honda Insight, Hyundai Sonata, Jaguar XJS เป็นต้น

    • น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20

      น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 หรือเบนซิน E20 เป็นน้ำมันที่ได้จากส่วนผสมระหว่าง “น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว vs เอทานอล” ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงมาก โดยอยู่ที่ 80:20 หากถามในเรื่องของสมรรถนะ ก็สัมผัสได้ว่า “ไม่แตกต่าง” จากแก๊สโซฮอล์ 91 หรือแก๊สโซฮอล์ 95 สักเท่าไหร่นัก

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ได้: Ford Escape, Honda Accord, Mazda 3, Nissan Teana, Toyota Camry เป็นต้น

    • น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85

      น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 คือ น้ำมันที่มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ผสมกับเอทานอลในอัตราส่วนที่ลดลงระหว่าง 15:85 มีข้อดีคือราคาค่อนข้างถูก แต่ก็แลกมาด้วยสมรรถนะที่ “ด้อยกว่า” รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินธรรมดา

      และด้วยความที่น้ำมันประเภทนี้ มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์สูง ส่งผลให้มีการเผาไหม้ที่รวดเร็ว และเปลืองน้ำมันมาก ๆ แถมยังมีส่วนทำให้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ถูกกัดกร่อน ทำให้เสื่อมสภาพได้เร็วกว่าเดิม

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ได้: Toyota Altis, Toyota Vios Honda City, Honda Civic, Mazda 3 เป็นต้น

  • 2. น้ำมันดีเซล

    น้ำมันดีเซล คือ​ มีกระบวนการกลั่นคล้ายกับน้ำมันเบนซิน หรือมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “น้ำมันใส” มีจุดเดือดค่อนข้างสูง ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 180-370 องศาเซลเซียส สามารถจุดระเบิดได้เอง เนื่องจากความร้องของแรงอัดอากาศในกระบอกสูบสูง จึงไม่จำเป็นจะต้องใช้หัวเทียนช่วยในการจุดระเบิด ซึ่งในปัจจุบันน้ำมันดีเซลแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

    • น้ำมันพรีเมียมดีเซล

      น้ำมันพรีเมียมดีเซลน้ำเป็นประเภทน้ำมันที่ “ราคาสูง” ส่งผลให้มีคุณภาพสูงตามไปด้วย และด้วยความที่การเผาไหม้ค่อนข้างดี ทำให้สมรรถนะของรถยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันพรีเมียมดีเซลได้: รองรับรถยนต์ดีเซลสมรรถภาพสูงทั้งยุโรปและเอเชีย

    • น้ำมันไบโอดีเซล B7

      น้ำมันไบโอดีเซลประเภทนี้มีส่วนผสมของไบโอดีเซลอยู่ที 7% และมีการใส่สารเติมแต่งคุณภาพต่าง ๆ ลงไปด้วยเช่นกัน

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันดีเซล B7 ได้: Benz, Hyundai, BMW, Honda Mazda, Audi, Tata เป็นต้น

    • น้ำมันไบโอดีเซล B10

      น้ำมันไบโอดีเซล B10 หรือ “ดีเซล” คือประเภทน้ำมันที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซลอยู่ที่ 10%

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันดีเซล B10 ได้: Toyota Innova, Isuzu Mu-X, Nissan Terra, Mitsubushi Pajero Sport, Ford Ranger เป็นต้น

    • น้ำมันไบโอดีเซล B20

      น้ำมันไบโอดีเซล B20 คือน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม แถมยังมีราคาที่ค่อนข้างย่อมเยา

      รถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้: Nissan Navara, Isuzu D-max, Isuzu Mu-X, Toyota Hiux Revo, Toyota Fortuner เป็นต้น

  • หลังจากที่ทำความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่า น้ำมันเบนซิน คือ อะไร? และ น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทคืออะไร ? เหมาะกับรถยนต์ประเภทใดบ้าง ? ต่อจากนี้ก็ให้ระมัดระวังในการเติมน้ำมันให้มากขึ้น หากไม่อยากพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะตามมาในอนาคต หากไม่มั่นใจแนะนำให้ดูจากสติกเกอร์บนฝาถังน้ำมันก่อนเติมทุกครั้ง

เคล็ดลับ ! เติมน้ำมันรถให้คุ้มค่ามากที่สุดทำยังไง ?

เคล็ดลับ เติมน้ำมันรถให้คุ้มค่ามากที่สุดทำยังไง

ในยุคสมัยที่ “ราคาน้ำมัน” พุ่งสูงมาก จนหลายคนไม่อยากจะใช้รถใช้ถนนมากเท่าไหร่นัก แต่ด้วยความจำเป็นหลาย ๆ อย่าง ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ เราจึงทำการรวบรวม “เทคนิคเติมน้ำมัน” มาให้คุณได้นำไปปรับใช้ร่วมกัน ดังนี้

  1. ความเชื่อเรื่องเติมน้ำมันในช่วงเวลากลางคืน ดีกว่าจริงหรือ ?

    เทคนิคในข้อนี้จะสอดคล้องกับ “การระเหย” ของน้ำมัน การเติมน้ำมันในช่วงเวลานี้ จะทำให้การระเหยเกิดขึ้นได้น้อยกว่าช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากอากาศมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้ช่วยประหยัดค่าน้ำมันได้ในระดับหนึ่ง

  2. เติมน้ำมันก่อนที่จะหมดถัง

    ลองสังเกตตอนที่เติมน้ำมันเสร็จใหม่ ๆ จะพบว่าน้ำมันรถ “หมดช้ามาก” แต่เมื่อเลยครึ่งถึงไปแล้ว กลับลดฮวบอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งก็หมายความว่าเมื่อถังน้ำมันมีพื้นที่ว่างค่อนข้างเยอะ การระเหยของน้ำมันก็เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น หากน้ำมันลดลงเหลือ 1 ใน 4 ของถัง แนะนำให้รีบเติมจะดีที่สุด

  3. กดปุ่ม ECO ที่มีอยู่ในรถยนต์

    รถยนต์ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรถยุโรป รถเอเชีย รถขนาดเล็ก รถขนาดกลาง หรือรถขนาดใหญ่ ก็มักจะฟังก์ชัน “ประหยัดน้ำมัน” ให้คุณได้กดใช้งานแทบทั้งสิ้น แต่การกดปุ่ม ECO ก็แลกมาด้วยความเร็วและอัตราเร่งที่ลดลง แต่ก็นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดี ๆ ที่ช่วยให้รถประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น

หลังจากที่ทำความเข้าใจเทคนิคการเติมน้ำมันไปเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าต่อจากนี้ทุกคนก็จะสามารถ “เซฟเงิน” ในส่วนนี้ได้พอสมควร แม้ว่าจะไม่ได้ช่วยได้มากมายอะไรนัก แต่ก็ถือว่าอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยคุณประหยัดได้ในระดับหนึ่งเลยล่ะ หากไม่เชื่อก็ลองนำเทคนิคต่าง ๆ ไปปรับใช้กันเลย!

เห็นแล้วใช่ไหมว่าในปัจจุบันมี “น้ำมันเชื้อเพลิง” หรือน้ำมันรถยนต์มากมายหลายประเภท และทุกประเภทก็ใช่ว่าจะเหมาะสำหรับรถยนต์ทุกแบรนด์ หรือทุกรุ่นแต่อย่างใด แนะนำให้ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ดี และเลือกเติมน้ำมันอย่างเหมาะสม เพราะถึงแม้บางประเภทจะใช้ทดแทนกันได้ แต่ก็อาจจะแลกมาด้วยสมรรถนะที่ลดน้อยลง หรือบางประเภทที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ เมื่อเติมผิดขึ้นมาล่ะก็ อาจจะต้องปวดหัวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ตามมาอย่างมากมายกันเลยทีเดียว

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่