เพื่อนยืมรถไปชน ประกัน จ่าย ไหม ใครต้องรับผิดชอบ ? MrKumka จะเล่าให้ฟัง

แชร์ต่อ
เพื่อนยืมรถไปชน ประกัน จ่าย ไหม

เชื่อว่าเรื่องนี้ “เพื่อนยืมรถไปชน ประกัน จ่าย ไหม” น่าจะเป็นอีกคำถามที่หลายคนให้ความสนใจ บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องให้เพื่อน ญาติ หรือคนในครอบครัวหยิบยืมรถไปใช้งาน คุณอาจเป็นกังวลถ้าหากในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน มีการเกิดอุบัติเหตุขึ้น ประกันภัยรถยนต์ยังคงให้ความคุ้มครองอยู่หรือไม่ ?​ หากคุณกำลังหาคำตอบในเรื่องนี้อยู่ล่ะก็ MrKumka จะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องนี้

เคลียร์ให้ชัด ! หาก เพื่อนยืมรถไปชน ประกัน จ่าย ไหม

ประกันภัยรถยนต์” ให้ความคุ้มครองกับผู้ที่เอาประกัน เช่น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสารที่นั่งในรถ รวมถึงคู่กรณี ไม่ว่าจะบาดเจ็บ เสียชีวิต และความเสียหายต่อทรัพย์สิน ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองตามที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ส่วนในกรณีที่ “มีคนยืมรถไปใช้” หากเจ้าของรถยนต์ได้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ คนขับก็ยังได้รับความคุ้มครองตามเดิม แต่จะต้องจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของรถและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ “ต้องมีใบขับขี่”

ประกันภัยรถยนต์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

ปัจจุบันการให้ความคุ้มครองในส่วนของ “ประกันภัยรถยนต์” มีทั้งหมด 2 ประเภท คือ ประกันภัยแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ และประกันภัยแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประกันภัยรถยนต์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
  • 1. ประกันภัยแบบระบุชื่อผู้ขับขี่

    สำหรับการทำประกันภัยประเภทนี้ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดประเภทการใช้งานของรถยนต์คันที่เอาประกัน ดังนี้

    • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
    • รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล
    • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
  • 2. ประกันภัยแบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่

    ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้ จะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถ ไม่ว่า ณ ตอนนั้นใครจะกำลังขับขี่อยู่ก็ตาม เมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของรถ ก็สามารถเคลมประกันภัยรถยนต์ได้โดย “ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก” ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขข้อยกเว้นต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ด้วย

เพื่อนยืมรถไปชน “เป็นฝ่ายถูก”

หากกรณีที่เกิดอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตามบนท้องถนน แล้วเพื่อนของคุณเป็นฝ่ายถูก บอกตรงนี้เลยว่าไม่ต้องกังวลใด ๆ เนื่องจากฝั่งที่ผิดจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด โดยที่คุณไม่ต้องใช้ประกัน หรือเสียเงินเพิ่มเติมสักสตางค์เดียว

แต่ถ้าเพื่อนเป็นฝ่ายผิด !

ในทางกลับกันหากเพื่อนของคุณเป็นฝ่ายผิด อาจจะต้องมีร้อน ๆ หนาว ๆ กันบ้าง เพราะจะต้องมานั่งลุ้นกันต่อว่า “รถมีประกันหรือเปล่า” หากรถของคุณไม่มีประกัน เพื่อนของคุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด เช่น ค่าซ่อมรถยนต์ของคุณและความรับผิดชอบต่อคู่กรณีในด้านต่าง ๆ

อย่างไรก็ตามต่อให้มีประกันภัยรถยนต์ติดรถไว้ รถได้รับการซ่อมแซมจากการรับผิดชอบของประกัน ท้ายที่สุดบริษัทฯ ประกัน จะมีการเรียกเก็บจากผู้ต้องรับผิดชอบที่แท้จริงซึ่งก็คือ “คนที่เอารถคนอื่นไปชน” หรือเพื่อนของคุณ

กรณีเพื่อนยืมรถไปชน เสียชีวิต

ทันทีที่คุณทราบเรื่องว่าเพื่อนที่ยืมรถของคุณไปขับแล้วเกิดอุบัติเหตุจนทำให้มีคนเสียชีวิต แนะนำให้ทำตามข้อปฏิบัติดังนี้

  1. ติดต่อบริษัทประกันภัยที่คุณเลือกซื้อความคุ้มครองให้เร็วที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประกันดำเนินการประสานงานกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
  2. ตรวจสอบว่าเพื่อนของคุณมีใบขับขี่ตามปกติหรือไม่ หากพบว่าไม่มีใบขับขี่ ใบขับขี่หมดอายุ แน่นอนว่าจะมีความผิดตามกฎหมายแน่นอน ในกรณีที่เพื่อนเป็นฝ่ายถูก คุณสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณีได้ แต่ถ้าหากเป็นฝ่ายผิด ประกอบกับไม่มีใบขับขี่แล้วล่ะก็ บริษัทฯ จะมีการพิจารณาความผิดชอบต่อกรณีที่เกิดขึ้น โดยแบ่งตามกรณีดังนี้
    • กรณีใบขับขี่หมดอายุ ถูกยึด หรือไม่ได้พกใบขับขี่

      กรณีนี้หากคุณเลือกทำประกันภัยภาคสมัครใจแบบ “ระบุชื่อผู้ขับขี่” เอาไว้ ก็จะได้รับความคุ้มครองและค่าชดเชยที่เกิดขึ้น ซึ่งทุกอย่างจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์

    • กรณีไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน

      กรณีที่เพื่อนของคุณไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน บริษัทฯ ยังคงให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น เฉพาะความเสียหายของบุคคลภายนอกหรือความเสียหายของรถยนต์เท่านั้น

“เพื่อนไม่รับผิดชอบ” ฟ้องได้ไหม ?

หากเพื่อนยืมรถของคุณไปเกิดอุบัติเหตุ และไม่รับผิดชอบใด ๆ แม้แต่นิดเดียว คุณซึ่งเป็นเจ้าของรถจะโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกเข้าพบเบื้องต้น เป็นเพราะว่าคุณมีชื่อเป็น “ผู้ครอบครองรถ” แต่ถ้าหากเพื่อนของคุณเป็นฝ่ายถูกและคุณได้ทำประกันเอาไว้ ก็ถือว่าสบายใจได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หากเพื่อนของคุณเป็นฝ่ายผิด แม้ว่าจะสามารถแจ้งเคลมประกันภัยรถยนต์ได้ตามปกติ แต่ในส่วนของ “ค่าเบี้ยประกัน” ในปีต่อไปจะถูกปรับให้สูงขึ้นมากกว่าเดิม และในบางกรณีอาจจะต้องมีค่าเสียหายส่วนแรกเพิ่มเติมด้วย

ในกรณีที่รถยนต์ของคุณไม่มีประกัน หรือประกันหมดอายุ ประกอบกับเพื่อนคุณไม่รู้ร้อนรู้หนาว ยืนกรานว่าจะไม่รับผิดชอบท่าเดียว สามารถยื่นเรื่องฟ้องร้องทางแพ่งและอาญากับเพื่อนได้ จึงเป็นเหตุผลที่คุณควรตัดสินใจให้ดี ก่อนจะให้ใครหยิบยืมรถของคุณไปใช้ เพราะแน่นอนว่าคุณไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เลย ทางที่ดี “เลี่ยง” ได้ก็จะเป็นการดีซะกว่า

สรุปได้ว่าหากคุณให้เพื่อน ญาติ หรือคนในครอบครัวยืมรถไปใช้ ก็สบายใจหายห่วงได้เลย เพราะบริษัทประกันภัยยังคงให้ความคุ้มครองตามเดิม (ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์) เว้นแต่ว่าคุณได้ทำประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่เอาไว้ ซึ่งอาจจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากเป็นฝ่ายผิด และถ้าหากกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม MrKumka พร้อมนำเสนอกรมธรรม์ที่ตอบโจทย์อย่างถึงที่สุด สามารถเปรียบเทียบประกันออนไลน์ได้ก่อนใคร เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา MrKumka.com

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่