ยกเลิกประกันรถ ได้เงินคืนไหม ทำได้ทั้งรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์หรือไม่?

แชร์ต่อ
ไขข้อสงสัย ยกเลิกประกันรถ ได้เงินคืนไหม | MrKumka.com

เป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจมาก ๆ ว่า ยกเลิกประกันรถ ได้เงินคืนไหม? ต้องบอกก่อนเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ของตัวผู้เอาประกันเอง ต้องบอกว่า “การขอยกเลิกกรมธรรม์สามารถทำได้ตามกฎหมาย” ไม่ว่าจะเป็นผู้เอาประกันยกเลิกเอง หรือบริษัทประกันภัยเป็นฝ่ายยกเลิก จะมีรายละเอียดอะไรบ้าง ตามไปทำความเข้าใจกันเลย !

ไขข้อสงสัย ยกเลิกประกันรถ ได้เงินคืนไหม ?

ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายยกเลิกกรมธรรม์ ฝ่ายผู้เอาประกันจะได้เงินคืนเสมอ ย้ำอีกครั้งว่าผู้เอาประกันมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยประกันคืนตาม “อัตราส่วนการคืนเบี้ยประกัน” ที่กำหนดไว้ โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์ ซึ่งจะนับวันที่บริษัทได้รับเอกสารแจ้งยกเลิกเป็น “วันสิ้นสุดประกันภัย”

ในกรณีที่เป็นการต่อประกัน แนะนำว่าควร “ยกเลิกกรมธรรม์ก่อนวันคุ้มครอง” เพื่อจะได้ไม่เสียค่าดำเนินการมาก แถมยังใช้เวลาไม่นานอีกด้วย เพราะส่วนใหญ่ที่ยกเลิกหลังได้รับความคุ้มครองแล้ว มักใช้เวลาเป็นเดือนถึงจะสามารถยกเลิกได้อย่างสมบูรณ์

ยกเลิกประกันภัยรถยนต์ ได้เงินคืนเท่าไหร่ ?

โดยปกติแล้วการขอยกเลิกประกันภัยรถยนต์ ผู้เอาประกันจะได้รับเงินคืนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาคบังคับหรือภาคสมัครใจ แต่จะได้เงินคืนเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับ “ระยะเวลาที่ประกันคุ้มครองไปแล้ว” โดยจะมีอัตราการคืนเบี้ยประกันดังต่อไปนี้

อัตราคืนเบี้ยประกันรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

จำนวนเดือนที่คุ้มครอง เบี้ยประกันคืนร้อยละ จำนวนเดือนที่คุ้มครอง เบี้ยประกันคืนร้อยละ จำนวนเดือนที่คุ้มครอง เบี้ยประกันคืนร้อยละ
1 80% 5 40% 9 0%
2 70% 6 30% 10 0%
3 60% 7 20% 11 0%
4 50% 8 15% 12 0%

อัตราคืนเบี้ยประกันรถยนต์ ภาคสมัครใจ

จำนวนวันประกันภัย ร้อยละของเบี้ยประกันเต็มปี จำนวนวันประกันภัย ร้อยละของเบี้ยประกันเต็มปี จำนวนวันประกันภัย ร้อยละของเบี้ยประกันเต็มปี
1-9 72% 120-129 44% 240-249 20%
10-19 68% 130-139 41% 250-259 18%
20-29 65% 140-149 39% 260-269 16%
30-39 63% 150-159 37% 270-279 15%
40-49 61% 160-169 35% 280-289 13%
50-59 59% 170-179 32% 290-299 12%
60-69 56% 180-189 30% 300-309 10%
70-79 54% 190-199 29% 310-319 8%
80-89 52% 200-209 27% 320-329 6%
90-99 50% 210-219 25% 330-339 4%
100-109 48% 220-229 23% 340-349 3%
110-119 46% 230-239 22% 350-359 1%
360-366 0%

ขั้นตอนการยกเลิกประกันภัยรถยนต์

การยกเลิกประกันภัยรถยนต์ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ “ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยเป็นลายลักษณ์อักษร” ถึงเหตุผลของการยกเลิกสัญญา ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ “ช่วงเวลา” ที่คุณยกเลิก ดังนี้

ยกเลิกก่อนถึงวันคุ้มครอง

การยกเลิกประกันภัยรถยนต์ “ก่อนถึงวันคุ้มครอง” แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีเอกสารกรมธรรม์ตัวจริงยังไม่ออก
  1. ติดต่อบริษัท โบรกเกอร์ หรือตัวแทนที่แจ้งทำประกันภัยรถยนต์ด้วย
  2. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะ “ยกเลิกประกันภัยรถยนต์” พร้อมกับแจ้งเลขทะเบียนรถ ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก
กรณีเอกสารกรมธรรม์ตัวจริงออกแล้ว
  1. ติดต่อบริษัท โบรกเกอร์ หรือตัวแทนที่แจ้งทำประกันภัยรถยนต์ด้วย
  2. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะ “ยกเลิกประกันภัยรถยนต์” พร้อมกับแจ้งเลขทะเบียนรถ ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก
  3. ส่งเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงให้เจ้าหน้าที่ เพื่อทำเรื่องยกเลิก

ยกเลิกหลังคุ้มครองไปแล้ว
  1. ติดต่อบริษัท โบรกเกอร์ หรือตัวแทนที่แจ้งทำประกันภัยรถยนต์ด้วย
  2. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะ “ยกเลิกประกันภัยรถยนต์” พร้อมกับแจ้งเลขทะเบียนรถ ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก
  3. ส่งเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงให้เจ้าหน้าที่ เพื่อทำเรื่องยกเลิก

รถจักรยานยนต์ยกเลิกประกันภัย พรบ. ได้ไหม ?

ขั้นตอนการยกเลิกประกันภัยรถยนต์ มีอะไรบ้าง

สำหรับรถจักรยานยนต์ที่ต้องการ “ยกเลิกกรมธรรม์” สามารถยกเลิกได้เช่นเดียวกัน แต่ผู้เอาประกันจะได้รับเงินค่าเบี้ยคืนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ในอัตราการคืนเบี้ยประกันภัย พรบ.รถจักรยานยนต์ ดังนี้

จำนวนเดือนที่คุ้มครอง เบี้ยประกันคืนร้อยละ จำนวนเดือนที่คุ้มครอง เบี้ยประกันคืนร้อยละ จำนวนเดือนที่คุ้มครอง เบี้ยประกันคืนร้อยละ
1 80% 5 40% 9 10%
2 70% 6 30% 10 0%
3 60% 7 20% 11 0%
4 50% 8 15% 12 0%

ขั้นตอนการยกเลิกประกัน พรบ.รถจักรยานยนต์ และเอกสารที่ใช้

ผู้เอาประกันภัยสามารถขอยกเลิกได้ที่ “สาขาของบริษัทกลางฯ ทั่วประเทศ” โดยต้องเตรียมเอกสารไปให้พร้อม ดังต่อไปนี้

  1. ต้นฉบับกรมธรรม์ที่ขอยกเลิก
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

กรณีที่ไม่สะดวกเดินทางไปยกเลิกด้วยตัวเอง สามารถ “มอบอำนาจ” ให้ผู้อื่นมาทำการขอยกเลิกแทนได้ โดยแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

  1. หนังสือมอบอำนาจ
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่า แม้ว่าจะขอยกเลิกกรมธรรม์เรียบร้อยแล้ว แต่เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถต้อง “จัดทำประกันภัย พรบ. ด้วย” เพราะไม่อย่างนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ประกันภัยรถยนต์ หรือประกันภัยรถจักรยานยนต์ นับเป็น “เพื่อนร่วมทาง” ที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจได้แล้ว ยังช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุได้อีกด้วย ดังนั้นหากต้องการยกเลิก เพื่อเปลี่ยนไปซื้อความคุ้มครองที่ครอบคลุมกว่า ได้รับการบริการที่ประทับใจกว่า ถือเป็น “การยกเลิกที่สมเหตุสมผล” แต่ถ้าหากยกเลิกเพราะมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เมื่อเกิดอุบัติเหตุคุณจะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งแพงกว่าค่าเบี้ยประกันหลายเท่าเลยล่ะ ! หรือให้ง่ายกว่านั้นคุณเข้าเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ที่เหมาะสมกับคุณก่อนได้ที่เว็บไซต์ MrKumka.com เป็นตัวช่วยที่ดีให้คุณไม่เกิดปัญหาภายหลังได้

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่