รถน้ำท่วม ค่าซ่อม จะเคลมประกันรถยนต์ได้อย่างไรบ้าง ?

แชร์ต่อ
ประกันรถยนต์ประเภทไหน คุ้มครองรถน้ำท่วม

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ผ่านมา น่าจะส่งผลให้ “คนรักรถ” หลาย ๆ คนเกิดความกังวลใจเมื่อใช้รถตอนฝนตกหนักมากขึ้น แถมยังสงสัยว่า รถน้ำท่วม ค่าซ่อม เท่าไหร่ สามารถเคลมประกันได้หรือไม่ รวมถึงมี “ข้อระมัดระวัง” ใด ๆ ที่ประกันอาจจะ “ไม่รับเคลม” มีอะไรที่ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติมหรือเปล่า ?

MrKumka เลยอยากพาทุกคนมาเคลียร์ทุกข้อสงสัย รวบรวมทุกคำตอบมาให้คุณได้ทำความเข้าใจเพื่อคลายความกังวลในเรื่องนี้กัน ข้อมูลไหนบ้างที่จะเป็นประโยชน์กับคุณ ไปติดตามพร้อม ๆ กับเราได้เลย !

ประกันรถยนต์ประเภทไหน คุ้มครอง รถน้ำท่วม ค่าซ่อม บ้าง ?

“น้ำท่วม” นับเป็นอีกหนึ่งภัยพิบัติธรรมชาติที่สร้างความเสียหายให้กับรถยนต์ได้ค่อนข้างมาก แถมยังเป็นเหตุการณ์ที่ยากเกินจะควบคุม หากคุณกำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ ที่สามารถให้ความคุ้มครองในส่วนนี้ได้ล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยว่าควรเลือกซื้อประกันประเภทไหน !?

  • ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 ให้ความคุ้มครองความเสียหายเกือบทั้งหมด ที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ เช่น รถหาย ไฟไหม้ และภัยธรรมชาติ น้ำท่วม
  • ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2+ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ของแต่ละบริษัท)
  • ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3+ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ของแต่ละบริษัท)

ขับรถลุยน้ำยังไงไม่ให้พัง ?

จริง ๆ เลี่ยงได้ “ก็ควรเลี่ยง” กับเส้นทางที่มีน้ำขัง เพราะเราต่างรู้ดีว่าน้ำหรือความชื้นสามารถทำความเสียหายได้ทุกอย่าง รวมถึงรถของคุณ แต่ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยจริง ๆ และคุณเองก็จำเป็นจะต้องขับรถฝ่าน้ำท่วมไปให้ได้ ไปดูกันเลยว่ามีแนวทางการขับรถอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเครื่องดับ

  1. ตั้งสติและวางแผนให้ดี ว่าควรขับรถแบบไหนเพื่อความปลอดภัย
  2. สังเกตระดับความสูงของระดับน้ำ ด้วยการดูจากหลักถนน เสาไฟฟ้า พร้อมกับเปรียบเทียบกับความสูงของรถยนต์ (ของเรา) หากมองว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ก็สามารถขับฝ่าไปได้เลย ด้วยการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • อันดับแรกให้ทำการปิดแอร์ เนื่องจากการเปิดแอร์จะช่วยเพิ่มโอกาสที่รถจะดับ
    • ต่อมาให้ทำการปรับมาใช้เกียร์ต่ำ หากเป็นเกียร์ออโต้ให้ขยับมาใช้เกียร์ L แต่ถ้าหากเป็นเกียร์ธรรมดาให้ใช้เกียร์ 1 หรือ 2 พร้อมกับขับช้า ๆ เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อ “การยึดเกาะของยาง” หรือพูดง่าย ๆ ว่าอาจทำให้ยางทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมา (กรณีขับเร็ว)
    • ไม่แนะนำให้เร่งเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันน้ำเข้าห้องเครื่อง ขับช้า ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงจุดที่ปลอดภัย
  3. เมื่อผ่านจุดที่น้ำท่วมขังมาแล้ว อย่าเพิ่งรีบร้อนดับเครื่องยนต์ แนะนำให้รอสักพักจนไม่มีน้ำค้างอยู่ที่ท่อไอเสีย แล้วจึงค่อยดับเครื่อง

แนะนำให้คุณตั้งสติและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต หากพบว่ารถยนต์มีความผิดปกติ แนะนำให้ติดต่อประกันเพื่อแจ้งเคลมทันที ไม่อย่างนั้นความเสียหายเล็ก ๆ น้อย ๆ ในวันนี้ อาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่อย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนก็เป็นได้

ลุยน้ําท่วม “รถดับ” ต้องทำอย่างไร ?

หากคุณทำตามแนวทางที่เราบอกต่อไปเมื่อสักครู่ หรืออาจละเลยข้อใดข้อหนึ่งไปก็ตาม แล้วรถยนต์ของคุณเกิดดับกะทันหัน อย่าเพิ่งตื่นตระหนก หรือพยายามสตาร์ตเครื่องยนต์เด็ดขาด ให้ทำการติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อแจ้งถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับบอกรายละเอียดการติดต่อกลับ รวมถึงชื่อ-นามสกุล หรือเลขที่กรมธรรม์ให้ชัดเจน หลังจากนั้นรอให้เจ้าหน้าที่สำรวจภัยเดินทางมายังที่เกิดเหตุ และประสานงานเรื่องรถยก/รถลากให้คุณทันที

*หมายเหตุ: สำหรับการแจ้งเคลม ทางบริษัทฯ จะประเมินอีกครั้งว่าสามารถเคลมได้หรือไม่ (กรณีขับฝ่าน้ำท่วม) คุณมีหน้าที่ในการ “พิสูจน์” ให้ได้ว่าไม่ได้เจตนาทำให้รถเกิดความเสียหาย ไม่อย่างนั้นบริษัทฯ อาจจะปฏิเสธการเคลมได้ง่าย ๆ

กรณีรถจมน้ำ ต้องทำอย่างไร ?

หากคุณจอดรถไว้ในบ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่ทำงาน สถานที่ท่องเที่ยว หรืออื่น ๆ แล้วปรากฏว่ารถจมน้ำในระดับสูง ชนิดท่วมเครื่องยนต์จนมิด ไม่ควรสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง ON เด็ดขาด เพราะรถยนต์มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบไฟฟ้า และระบบต่าง ๆ มากมาย หากคุณเผลอสตาร์ตเครื่องยนต์แล้วล่ะก็ จะทำให้ “เครื่องช็อต” และเกิดความเสียหายตามมาได้

ให้ทำการถอดขั้นแบตเตอรี่ออกทันที เพื่อตัดระบบจ่ายไฟ หากเรียกใช้บริการรถยก/รถลาก แม้จะเรียกเองก็ดีหรือบริษัทประกันภัยประสานงานให้ก็ดี ควรเปลี่ยนถ่ายของเหลวทั้งหมดในทันที ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเครื่อง น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ น้ำหล่อเย็น น้ำมันเบรก หรืออื่น ๆ ในส่วนของช่วงล่างก็ควรอัดจาระบีที่ลูกหมากใหม่ พร้อมกับเช็คสภาพรถ เช็คระบบเบรกว่าผิดปกติหรือไม่

“น้ำเข้ารถ” แบบไหนที่สามารถแจ้งเคลมประกันได้ ?

6 ขั้นตอนเคลมประกันกรณีน้ำเข้ารถ

หลังจากที่ทำความเข้าใจประกันภัยรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ที่ให้ความคุ้มครองในเรื่องรถน้ำท่วม หรือน้ำเข้ารถเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อมาเราไปดูกันต่อดีกว่าว่า “น้ำเข้ารถ” แบบไหน ถึงจะได้รับความคุ้มค่าบ้าง !?

  • 1. น้ำท่วมจากภัยพิบัติธรรมชาติ

    ในกรณีที่พายุฝนถล่มติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้รถยนต์ที่จอดอยู่บ้านเฉย ๆ ย้ายรถหนีไม่ทัน เพราะน้ำทะเลที่หนุนสูง น้ำหลาก หรือปัจจัยอื่น ๆ จนทำรถถูกน้ำเข้าและเกิดความเสียหายบางส่วน บริษัทประกันยังคงรับเคลมตามเงื่อนไขกรมธรรม์ เว้นแต่กรณีที่รถถูกน้ำเข้าจนเสียหายโดยสิ้นเชิง บริษัทฯ จะดำเนินการจ่ายเงิน 70-80% ของทุนประกันแทน เนื่องจากมองว่าไม่คุ้มที่จะซ่อมให้กลับมาในสภาพเดิม

  • 2. รถติดบนถนนขณะที่ฝนตกหนัก

    ในขณะที่คุณกำลังเดินทางออกไปทำงาน หรือเดินทางเพื่อไปทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วปรากฏว่ารถติดอยู่บนถนนเส้นหนึ่งเป็นเวลานาน ประกอบกับช่วงเวลานั้นมีฝนตกหนัก ถึงขั้นเกิดน้ำท่วมสูง จนทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย

สำหรับกรณีที่คุณ “ขับรถลุยน้ำท่วมขังบนถนน” แม้ว่าน้ำท่วมขังดังกล่าวจะเกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติ แต่ทางบริษัทประกันภัย “ไม่รับเคลม” เพราะมองว่าคุณรู้อยู่แก่ใจว่าถนนเส้นไหนเป็นพื้นที่เสี่ยง แต่ก็ยังเลือกที่จะขับรถเข้าไปหาภัยอันตรายนั้น ๆ แต่บางบริษัทฯ ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 อาจช่วยค่าเสียหายบางส่วน (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและกรณี)

6 ขั้นตอนเคลมประกันรถยนต์กรณีน้ำเข้ารถ

หลังจากที่คุณตรวจสอบกรมธรรม์อย่างถี่ถ้วนแล้วว่า “น้ำเข้ารถ” อยู่ในความคุ้มครองของบริษัทฯ สามารถแจ้งเรื่องขอเคลมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ได้ทันที

  1. ถ่ายรูปรถขณะที่ยังมีน้ำท่วมขัง โดยถ่ายให้เห็นทะเบียนรถ (กรณีที่ท่วมไม่มิดคัน) เพื่อใช้เป็นหลักฐานว่ารถคันที่เกิดเหตุ มีเจ้าของเป็นผู้เอาประกันตามกรมธรรม์
  2. ติดต่อบริษัทประกันโดยตรง ซึ่งสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  3. เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกัน (เจ้าหน้าที่สำรวจภัย) จะเดินทางเข้ามาตรวจสอบ รวมถึงบันทึกความเสียหายที่เกิดขึ้น
  4. เลือกอู่หรือศูนย์ซ่อมเพื่อประเมินราคาในการจัดซ่อม
  5. รอการอนุมัติซ่อม
  6. เมื่อเอกสารผ่านการอนุมัติ สามารถนำส่งเข้าไปซ่อมที่อู่หรือศูนย์ได้ทันที

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับแจ้งเคลมประกันรถยนต์

นอกจากการเก็บรวบรวมหลักฐาน ขณะที่รถยนต์เกิดเหตุน้ำเข้ารถแล้ว คุณยังจะต้องเตรียมเอกสารอื่น ๆ เพื่อประกอบการแจ้งเคลมด้วย โดยมีเอกสารดังต่อไปนี้

  • กรมธรรม์ฉบับจริงหรือสำเนา
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับตัวรถ เช่น เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
  • เอกสารของเจ้าของรถหรือผู้แจ้ง เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่ พาสปอร์ต เป็นต้น

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากรู้ตั้งแต่ว่าในช่วงนั้น ๆ จะมีมรสุมเข้ามา แนะนำให้คุณติดตามข่าวสาร พร้อมกับเช็คสภาพอากาศก่อนออกเดินทางทุกครั้ง แต่ถ้าหากมีเหตุจำเป็น หรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางได้ค่อนข้างยาก ก็ควรที่จะศึกษาวิธีและปฏิบัติตามแนวทางที่บอกต่อไปเมื่อข้างต้นอย่างถูกต้อง รวมถึงตรวจสอบบริเวณที่จอดรถให้ดี ว่าอยู่ในพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจจะตามมาในอนาคต

จะเห็นได้ว่าการทำประกันภัยรถยนต์
ที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม เพราะทุกเสี้ยววินาทีสามารถเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ตลอดเวลา แถมยังเป็นสาเหตุที่ทำให้รถยนต์ของคุณเกิดความเสียหายตามมาแบบไม่หยุดหย่อน สำหรับคนที่กำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ที่ดี สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ MrKumka พร้อมมอบกรมธรรม์ดีที่สุดให้คุณ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์ง่าย ๆ แค่คลิก !

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่