การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ คืออะไร เพราะแค่ไม่ประมาทอาจไม่พอในการใช้รถใช้ถนน ?

แชร์ต่อ
การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ คืออะไร หาคำตอบกับ Mrkumka.com

เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยได้ยินคำว่า การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ มาก่อน และไม่รู้ว่าคำคำนี้คืออะไร ? มีข้อดี หรือช่วยให้ขับขี่ปลอดภัยได้ยังไง ? MrKumka ได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจมาให้เรียบร้อยแล้ว เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณ คนที่คุณรัก และเพื่อนร่วมทาง เราไปทำความเข้าใจให้มากขึ้นพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

เข้าใจเรื่อง การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ คืออะไร ?

“การขับขี่เชิงป้องกันอุบัติเหตุ” คือ การขับขี่เพื่อ ‘ป้องกัน’ การเกิดอุบัติเหตุ แม้ว่าเหตุนั้น ๆ จะเกิดจากความประมาท หรือความผิดพลาดของผู้อื่นก็ตาม ด้วยการสังเกตการณ์เหตุการณ์บนท้องถนนตลอดเวลา เช่น มองไกล มองกลาง และมองใกล้ เพื่อที่จะได้เห็นอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น และเตรียมตั้งรับได้ทันนั่นเอง

หากยังมองภาพไม่ออกว่าการขับขี่ในลักษณะเป็นยังไง ต้องทำแบบไหน เราได้ลิสต์รายละเอียดเพิ่มเติมมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปทำความเข้าใจกันเลย !

ขับขี่เชิงป้องกันอุบัติเหตุ ต้องทำยังไง ?

การขับขี่ปลอดภัย เชิงป้องกันอุบัติเหตุที่เรารวบรวมมาให้คุณในวันนี้ มีทั้งหมด 5 ประเด็นด้วยกัน ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นยังไง ให้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ไปดูกัน

  1. ตรวจสภาพคนขับ

    ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ไม่ว่าจะระยะทางใกล้หรือไกล ควรเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางเสมอ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ โดยที่ไม่ต้องหวังพึ่งกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนี้ยังไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

  2. อย่าเปิดกระจก และอย่าปลดล็อกประตูรถ

    ไม่ควรเปิดกระจกขณะขับรถ เพราะจะทำให้ฝุ่นควันต่าง ๆ เข้ามาภายในห้องโดยสาร และถ้าหากเกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้เกิด “ความเสียหาย หรือความสูญเสีย” ร้ายแรงได้ นอกจากนี้ก็ไม่ควรปลดล็อกประตูรถเอาไว้ แม้ว่าขณะนั้นรถจะเคลื่อนตัวอยู่บนถนน หรือจอดติดไฟแดงอยู่ก็ตาม เพื่อป้องกันตัวเอง ข้าวของ และคนในรถจากมิจฉาชีพ

  3. ตรวจเช็กเส้นทาง

    หากต้องเดินทางไปในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย แนะนำให้ตรวจเช็กเส้นทางให้ดีก่อน เพราะจะช่วยเสริมสร้าง “ความมั่นใจ” ในการขับขี่ได้เป็นอย่างดี แถมยังไม่ต้องพะว้าพะวังกลัวหลง หรือเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันอีกด้วย

  4. ใช้ความเร็วให้เหมาะสม

    ในเรื่องของ “ความเร็ว” ในการขับรถนั้น จำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจมาก ๆ เพราะนอกจากจะเป็นชนวนเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายแล้ว ยังมีเรื่อง “กฎหมาย” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะรีบแค่ไหน ก็อย่าเหยียบเพลินเด็ดขาด

  5. ประเมิน ‘พฤติกรรม’ ผู้ร่วมถนน

    เพื่อความปลอดภัยในการใช้ถนนใช้ถนน คุณจำเป็นจะต้อง “สังเกต” พฤติกรรมของผู้ร่วมถนนให้ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้สัญญาณไฟเลี้ยว การเปลี่ยนเลน หรืออื่น ๆ เพราะถ้าหากมีความผิดปกติ หรืออะไรก็ตาม จะได้ระมัดระวังและหาทางหลีกเลี่ยงได้ทัน

ทั้งหมดนี้คือวิธีการขับขี่เชิงป้องกันอุบัติเหตุ ที่เรารวบรวมมาบอกต่อคุณ เพื่อใช้เป็น “แนวทาง” ในการขับรถบนท้องถนน ช่วยให้ห่างไกลจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ในระดับหนึ่ง ขอเพียงแค่คุณปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยให้การเดินทางของคุณราบรื่นแล้วล่ะ

เทคนิคการขับรถให้ปลอดภัย ห่างไกลจากอุบัติเหตุ

เทคนิคการขับรถให้ปลอดภัย ห่างไกลจากอุบัติเหตุ

เพื่อความเข้าใจที่ง่ายมากขึ้น เราขอ ‘สรุป’ เทคนิคการขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ ให้คุณได้นำไปปฏิบัติตามดังต่อไปนี้

  1. การมองไกล คือการมองไกลไปข้างหน้า ประมาณ 15 วินาที

  2. การมองภาพรวม คือการมองกระจกทุก ๆ 5-8 วินาที และทิ้งระยะห่างจากรถคันข้างหน้า ‘อย่างน้อย’ 4-6 วินาที

  3. การเคลื่อนไหวทางสายตา คือการเคลื่อนไหวสายตาทุก ๆ 2 วินาที

  4. การหาทางออกให้ตัวเอง คือการรักษาระยะห่างรอบตัว

  5. การสื่อสารให้แน่ใจว่า ‘คนอื่นเห็นเรา’ คือการให้สัญญาณต่าง ๆ

พยายามฝึกเทคนิคเหล่านี้ให้ติดเป็นนิสัย เพื่อพาตัวเองให้ห่างไกลจากอุบัติเหตุมากที่สุด นอกจากนี้ยังควร “หลีกเลี่ยง” พฤติกรรมสุ่มเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการคุย/เล่นโทรศัพท์ขณะขับรถ นอกจากนี้ยังมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย

ขับขี่เชิงป้องกันอาจยังไม่พอ ต้องมี ประกันรถยนต์ คู่ด้วย

หลายคนอาจสงสัยว่า “ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ” มีความจำเป็นยังไง ทั้ง ๆ ที่เราก็ขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ แถมยังมี พรบ.รถยนต์ อยู่แล้ว ต้องบอกก่อนว่า “การที่คุณไม่ประมาท ขับขี่อย่างระมัดระวัง ใช่ว่าคันอื่นจะเป็นเหมือนคุณ” แถม พรบ.รถยนต์ ก็มี “ข้อจำกัด” ในการให้ความคุ้มครอง โดยจะให้ความคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาพยาบาล อันเนื่องมากจากอุบัติเหตุเท่านั้น

ลองคิดดูสิว่าหากไม่มีประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ “ใครจะเป็นคนจ่ายค่าซ่อมรถ” ทั้งของตัวเองและของคู่กรณี และยังไม่รวมความเสียหายอื่น ๆ ที่ตามมาอย่างไม่รู้จบอีก จึงเป็นเหตุผลที่ ‘ควร’ ซื้อประกันภาคสมัครใจติดรถเอาไว้ด้วย เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้คุณตลอดการเดินทาง แถมยังช่วย “ลดภาระค่าใช้จ่าย” เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ดีมาก ๆ แต่จะตอบโจทย์แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับ “ความคุ้มครอง” ที่คุณเลือกซื้อเป็นสำคัญ

“ความคุ้มครอง” ของประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

ประกันภัยรถยนต์ เข้ามามีบทบาทในการ “อุดช่องโหว่” ในส่วนของ “ความเสียหาย” ที่ พรบ.รถยนต์ ไม่ให้ความคุ้มครองได้เป็นอย่างดี ถ้าอย่างนั้นเรามาดูความคุ้มครองของประกันรถยนต์แต่ละประเภท ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อก่อนเลยดีกว่า

  1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

    เป็นประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด โดยจะคุ้มครองทั้งผู้เอาประกัน บุคคลภายนอก อุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีก็ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงไฟไหม้ สูญหาย น้ำท่วม ภัยพิบัติ โจรกรรม และอีกมากมาย เหมาะสำหรับรถใหม่หรือมือใหม่หัดขับสุด ๆ

  2. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+

    ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้ ให้ความคุ้มครอง ‘คล้าย’ กับประเภท 1 แต่จะคุ้มครองเฉพาะ “รถชนรถ” เท่านั้น หรือพูดง่าย ๆ ว่าคุ้มครองเฉพาะกรณีที่มีคู่กรณี ”เป็นยานพาหนะทางบก”นั่นเอง แต่ก็แลกมาด้วยค่าเบี้ยประกันที่ถูกกว่า โดยประกันประเภทนี้เหมาะสำหรับรถที่ใช้งานเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี ใครที่ชอบขับรถชนข้างบ่อย ต้นไม้ หรือวัตถุอื่นบ่อย ๆ อาจไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่

  3. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2

    ประกันประเภทนี้คุ้มครองชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของคู่กรณีเท่านั้น รวมถึงคุ้มครองการโจรกรรม ไฟไหม้ และคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล ค่าประกันตัว ค่ารักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ เหมาะสำหรับคนที่มีประสบการณ์ หรือความชำนาญในการขับขี่ระดับหนึ่ง หรือเป็นคนที่ใช้รถไม่บ่อย

  4. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+

    ให้ความคุ้มครองรถยนต์คันที่เอาประกัน กรณีเกิดอุบัติเหตุ “รถชนรถ” เท่านั้น ไม่คุ้มครองค่าเสียหายในกรณีไฟไหม้ น้ำท่วม ถูกโจรกรรม หรือสูญหาย เหมาะสำหรับรถยนต์ทั่วไปที่ไม่ค่อยได้ใช้งานสักเท่าไหร่ หรือรถที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ข้อดีคือค่าเบี้ยประกันถูกมาก

  5. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3

    เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ค่าเบี้ยประกัน “ถูกที่สุด” และให้ความคุ้มครองต่ำที่สุด เพราะให้ความคุ้มครองเฉพาะชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของคู่กรณีเท่านั้น เมื่อผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด โดยจะให้ความคุ้มครองไม่เกินวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ค่าชดเชยรายได้ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท ให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน รวมถึง “ค่าเบี้ย” ก็แตกต่างด้วยเช่นกัน ดังนั้นแนะนำให้ตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าจริง ๆ แล้วใช้รถแบบไหน มีความเสี่ยงมั้ย หรือนาน ๆ ถึงเอาออกมาใช้ เพื่อให้คุณซื้อประกันรถยนต์ได้อย่างเหมาะสม ตอบโจทย์ และไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยเกินความจำเป็นนั่นเอง

การขับขี่บนท้องถนน “ไม่เราชนเขา เขาก็มาชนเรา” ต่อให้ระมัดระวังมากแค่ไหน ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ มีบทบาทแค่ช่วย “ลด” ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และถ้าหากไม่ต้องการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ ค่าต่อสู้คดี ฯลฯ พรบ.รถยนต์ เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แนะนำให้ “ซื้อประกันภัยรถยนต์” ติดเอาไว้ด้วย แต่ถ้าไม่รู้ว่าควรจะต้องเลือกซื้อกรมธรรม์แบบไหน ถึงจะตอบโจทย์มากที่สุด ไว้ใจให้ MrKumka ดูแลคุณ เพราะเรายินดีมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้คุณเสมอ

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่